การพัฒนาเนื้อดินสําหรับผลิตเครื่องปั้นดินเผา จากดินบ้านบ่อทองคํา จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

สนิท ปิ่นสกุล
สมโภชน์ เรืองฉาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตราส่วนผสมของเนื้อดินปั้นจากดินบ้านบ่อทองคํา จังหวัดพิษณุโลก และ 2) เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินปั้นบ้านบ่อทองคํา จังหวัดพิษณุโลก ก่อนเผาและหลังเผา ที่อุณหภูมิ 1,230 องศาเซลเซียส บรรยากาศออกซิเดชัน โดยทดลองสูตรส่วนผสมจากวัตถุดิบ 3 ชนิดคือ ดินบ้านบ่อทองคํา หินฟันม้า และดินขาวลําปาง จํานวน 36 ตัวอย่าง ทําการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยวิธีการหล่อแบบพิมพ์แล้วนําไปเผาทดลองที่อุณหภูมิ 1,230 องศาเซลเซียส บรรยากาศออกซิเดชัน ทดสอบสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินก่อนเผาและหลังเผา ได้แก่ความสามารถในการขึ้นรูปด้วยการหล่อแบบพิมพ์ความหดตัวความดูดซึมน้ํา และสีของเนื้อดิน
ผลการวิจัยพบว่า ดินบ้านบ่อทองคํา สามารถใช้เป็นส่วนผสมของเนื้อดินปั้นสําหรับผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้ส่วนผสมที่เหมาะสมได้แก่ สูตรที่ 8 ในสูตรส่วนผสมประกอบด้วย ดินบ้านบ่อทองคํา ร้อยละ 50 ดินขาวลําปาง ร้อยละ 30 และหินฟันม้า ร้อยละ 20 เนื้อดินสามารถขึ้นรูปด้วยการหล่อแบบพิมพ์ได้ดีความหดตัวก่อนเผาเฉลี่ยร้อยละ 5.30 ความหดตัวหลังเผาเฉลี่ยร้อยละ 13.36 ความดูดซึมน้ำเฉลี่ย ร้อยละ 0.49 เนื้อดินมีสีเทาปนแดง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกมล รักษ์วงศ์. (2531). วัตถุดิบที่ใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผาและเนื้อดินปั้น. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูพระนคร.

ธนสิทธิ์จันทะรี. (2552). เครื่องปั้นดินเผาขั้นพื้นฐาน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรีดา พิมพ์ขาวขํา. (2547). เซรามิกส์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุขุมาล เล็กสวัสดิ์. (2548). เครื่องปั้นดินเผาพื้นฐานการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์โกสิยพันธ์. (2534). น้ําเคลือบเครื่องปั้นดินเผา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Rhodes, D. (1974). Clay and Glazes for the Potter. New York: Chilton Book.