เครื่องกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชด้วยการควบคุมความยาวคลื่นแสง จากหลอดไฟ LED กรณีศึกษาผักนางแลว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องต้นแบบการบันทึกภาพและสภาวะแวดล้อมของการเจริญเติบโตของพืชที่ผ่านกระบวนการปรับสเปกตรัมแสงจากหลอดแอลอีดีในช่วง 400-700 นาโนเมตร เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชในขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยสามารถควบคุมและรายงานผลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างอัตโนมัติจากผลการทดสอบพบว่า เครื่องต้นแบบนี้สามารถควบคุมการทํางานผ่านระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ได้อย่างเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพโปรแกรมสามารถควบคุมสเปกตรัมแสงและเลือกแสดงผลภาพทั้งสองชั้นได้โดยอิสระจากกัน ทําให้เครื่องต้นแบบนี้สามารถทําการทดลองเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของพืชและติดตามข้อมูลสภาพแวดล้อมในเวลาเดียวกันได้เนื่องจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของพืชต้องรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 25-30 องศาเซลเซียส และมีความชื้นอากาศอยู่ในช่วง 20-99 เปอร์เซ็นต์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การสังเคราะห์ด้วยแสงแบบบูรณาการ. (2557). สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน, 2557, จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/photosynthesis/mainindex.htm
ดนัย บุญยเกียรติ. (2539). สรีรวิทยาของพืช. เชียงใหม่: ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปริทรรศน์ไตรสนธิและชูศรีไตรสนธิ. (2542). การสํารวจพืชผักพื้นเมืองในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. เชียงใหม่: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. (2544). สรีรวิทยาของพืช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อวิรุทธ์ศรีสุธาพรรณ และพรรณจิรา ทิศาวิภาต. (2553). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้แสงธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.