การออกแบบและพัฒนาเครื่องแยกเส้นใยสับปะรด เพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร

Main Article Content

ดุษฎี บุญธรรม

บทคัดย่อ

จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกสับปะรดห้วยมุ่นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด โดยหลังจากการเก็บเกี่ยวผลสับปะรดจะมีการรื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่ และจะต้องทำการเตรียมดินเพื่อปลูกสับปะรดมักจะใช้รถไถดันจนซากต้นไม้ใบหญ้ากลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพื่อให้เศษซากพืชเน่าสลายในดิน หรือเผาทำลาย ซึ่งเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรและส่งผลต่อผลกำไรที่ได้รับ สำหรับวัสดุเหลือทิ้งการเกษตรที่เหลือหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นมีจำนวนมาก คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุการเกษตร โดยการพัฒนาเครื่องแยกใยจากใบสับปะรดให้สามารถแยกใยออกจากใบสับปะรด โดยลักษณะเครื่องจักรที่ทำการพัฒนาใช้มอเตอร์ขนาด 3 แรงม้า 220 โวลต์ เป็นต้นกำลัง เพื่อใช้ในการขับชุดใบมีดขูดใบสับปะรด โดยจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา โดยมีกำลังการผลิตในการแยกเส้นใยสับปะรดสด 39.6 กรัมต่อชั่วโมง มีอัตราคุณภาพของเส้นใยสับปะรดสดที่ 2.9% และมีอัตราคุณภาพของเส้นใยสับปะรดสดที่ 1.5%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เรไล เนตรพระฤทธิ์ และคณะ. (2544). การปรับปรุงเครื่องขูดใยยี่ห้อ TOYODA LOOM WORK. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไทยรัฐออนไลน์. (2560, 26 ตุลาคม). เส้นใยทอผ้าเสริมรายได้. ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2560, จาก http://www.thairath.co.th /content/467012

ทรงศักดิ์ สมจักร์ และคณะ. (2544). มจธ. ประดิษฐ์เครื่องสางเส้นใยกกช้าง. เดลินิวส์, น. 29.

ธุม เอกทัตร์ และอรรถวุฒิ คล้ายนิล. (2532). เครื่องสางใยฝ้าย. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มติชนออนไลน์. (2560, 25 ตุลาคม). สับปะรดห้วยมุ่น. มติชน. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560, จาก https://www.matichon.co.th/news/413191

วิฑูร สุขพูล. (2557). สับปะรดห้วยมุ่น เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560, จาก http://www.prdnakhonpathom.com/news/2650