การศึกษาลักษณะเมฆและปริมาณเมฆ ในพื้นที่บ้านห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านกระบวนการสืบเสาะทางด้านวิทยาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บรรยากาศ (Atmosphere) คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกของเรา มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ก๊าซชนิดต่างๆ การตรวจวัดบรรยากาศตามหลักวิธีการของ GLOBE ช่วยทำให้เข้าใจลักษณะของเมฆและปริมาณเมฆปกคลุม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการรู้จักบรรยากาศในพื้นที่ศึกษา การพยากรณ์สภาพอากาศ และการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสภาพบรรยากาศของพื้นที่นั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเมฆและปริมาณเมฆปกคลุมในพื้นที่บ้านห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยอาศัยหลักวิธีการของ GLOBE ผ่านกระบวนการสืบเสาะทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 66 คน ดำเนินการสำรวจและ ลงข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Google Earth ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะของเมฆในพื้นที่บ้านห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมฆลักษณะ Cumulus ซึ่งมีลักษะก้อนฟู ที่ระดับความสูงจากระดับผิวดิน น้อยกว่า 2000 เมตร จนถึง ระดับความสูงประมาณ 2,000 - 6,000 เมตร และมีปริมาณเมฆปกคลุมเฉลี่ยร้อยละ 31.87 ซึ่งเป็นปริมาณเมฆปกคลุมแบบกระจายตัว (Scattered) ข้อมูลจากการศึกษาถือเป็นข้อมูลพื้นฐานในการบ่งชี้และพยากรณ์สภาพในอากาศในพื้นที่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมอุตุนิยามวิทยา. (2565). รายงานการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management-KM) เรื่องการศึกษาการประมาณค่าความสูงของฐานเมฆจากอุณหภูมิผิวพื้น. ตาก: คณะทำงานเพื่อจัดการองค์ความรู้ของส่วนอากาศการบินตาก.
ณัฐพล เสนไชย และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2561). อาสาสมัครฝนหลวงกับการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านฝนหลวง. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 5(2), 79-90.
พิทยา อุณหวงศ์, ศิริลักษณ์ เจิมจิตต์พรชัย, สุภาวดี วิชิตชาญ, และสุจิตตา สุระภี. (2562). การจัดกลุ่มจังหวัดของประเทศไทยตามปัจจัยสภาพอากาศ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(3), 1-17.
บรรยากาศ. (2538). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 20, สืบค้น 22 พฤษภาคม 2566, จาก https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=20&chap=8&page=t20-8-infodetail04.html
สสวท. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1. กรุงทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สสวท. (2565). การเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
อรรถพล ศรีประดิษฐ์. (2564). การประมาณความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ในช่วงความยาวคลื่นที่พืชใช้สังเคราะห์แสงด้วยปัญญาประดิษฐ์จากข้อมูลภาพถ่ายท้องฟ้าและมุมเซนิธของดวงอาทิตย์. วารสาร ว.วิทย์ มข., 49(3), 283-291.
อุษาวดี ตันติวรานุรักษ์ และวิโรจน์ เครือภู่. (2562). แบบจำลองสำหรับประมาณค่ารังสีอาทิตย์จากปริมาณ เมฆ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(3), 35-48.
Bell, R., Maeng, J. L., & Peters, E. E. (2010). Teaching about scientific inquiry and the nature of science.
Cartrack. (2565). ดาวเทียม. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.cartrack.co.th/blog/khwaamepnmaakh-ngdaawethiiym-gps
Gistda. (2565). ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.thailibrary.in.th/2013/08/29/google-earth
National Geographic. (2565). National Geographic ฉบับภาษาไทย. สืบค้น 11 สิงหาคม 2565 จาก https://shorturl.ac/7bapm
National Research Council. (2000). Inquiry and the National Science Education Standards: A Guide for Teaching and Learning. Washington, DC: The National Academies Press. https://doi.org/10.17226/9596.
Oguz Unver, A., Okulu, H. Z., Muslu, N., Ozdem Yilmaz, Y., Senler, B., Arabacioglu, S., & Bektas, O. (2023). The readiness of stakeholders in the scientific inquiry-supported mentoring project. International Journal of Education in Mathematics, Science, and Technology (IJEMST), 11(1), 37-55. https://doi.org/10.46328/ijemst.2651
Thailiblaly. Google Earth. (2565). สืบค้น 22 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.thailibrary.in.th/2013/08/29/google-earth