การพัฒนาเกม Uttaradit Quest Museum เพื่อการเรียนรู้สถานที่สำคัญ และผลิตภัณฑ์เด่นประจำจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

วรพล มะโนสร้อย

บทคัดย่อ

ปัจจุบันสื่อการเรียนรู้มีจำนวนมากมาย มีความหลากหลาย สื่อบางชนิดอาจจะไม่ตอบสนองและสื่อบางชนิดก็ตอบสนองกับผู้ใช้ซึ่งสื่อเหล่านั้นเองปัจจุบันนี้มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลหรือเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ ได้ด้วยอุปกรณ์เพียงอุปกรณ์เดียว ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game) มาใช้เป็นสื่อชนิดหนึ่งเพื่อใช้ในการนำเสนอ และเรียนรู้ถึงสถานที่สำคัญและผลิตภัณฑ์เด่นประจำจังหวัดอุตรดิตถ์โดยผู้วิจัยเลือกที่จะใช้ประเภทของเกมเป็นเกมตามบทบาท (Role Playing Game: RPG) ซึ่งผู้เล่นจะถูกรับบทเป็นตัวละครในตัวเกม โดยเล่นผู้เล่นจะต้องเล่นตามกติกาของเกมผ่านการป้อนคำสั่งและเลือกเงื่อนไขที่เกมได้กำหนดไว้โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันตามเงื่อนไขที่เลือก ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นสามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าใจ ส่งผลให้ผู้เล่นมีความรู้และความเข้าใจถึงผลิตภัณฑ์เด่นและสถานที่สำคัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Role Playing Game. (2015). Retrieved December 14, 2015, from http://baron.wudthipan.com/BARON_RULE/RPG.htm

BraveHeart Tale of lost city. (2017). Retrieved Mach 19, 2018, from http://bhth.gamedreamer.co.th/News/GameContent/notice_bhth_68954_20170106172757.htm

ศรัญญา ผาเบ้า. (2551). ผลการใช้เกมคอมพิวเตอร์เป็นสื่อเสริม วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.