การศึกษาศักยภาพผู้ให้บริการรถสองแถวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยว กรณีศึกษา รถสองแถวในเขตเทศบาลเมืองน่าน

Main Article Content

อิสริยพร หลวงหาญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเน้นศึกษาเฉพาะมุมมองของผู้ให้บริการรถสองแถว ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 8 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาปัญหาของผู้ให้บริการรถสองแถวในเขตเทศบาลเมืองน่าน 2) ศึกษาศักยภาพโดยการวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของผู้ให้บริการรถสองแถว และ 3) การวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันทางธุรกิจ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าการวิเคราะห์ปัญหา ได้แก่ 1) ปัญหาในการจัดระเบียบระบบขนส่งสาธารณะ พบว่า เป็นปัญหาสำคัญของผู้ให้บริการรถสองแถวที่ต้องเผชิญกับคู่แข่งขันทางธุรกิจโดยตรง ด้านการประเมินศักยภาพ พบว่า จุดแข็ง
ที่สำคัญของผู้ให้บริการ คือ การให้บริการที่มีลักษณะเป็นกันเอง เป็นคนในพื้นที่และให้บริการมาเป็นระยะนาน มีความน่าเชื่อถือให้กับผู้โดยสารที่เลือกใช้บริการ จุดอ่อนที่ผู้ให้บริการ จำเป็นต้องพัฒนาเรียนรู้เพิ่มเติมคือ ขาดความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการให้บริการ ส่วนการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันทางธุรกิจ พบว่า ความเสี่ยงในการใช้สินค้าทดแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจเลือกใช้ภาพแบบบริการขนส่งสาธารณะอื่นที่ผู้ใช้บริการมีสิทธิ์ในการตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขความพึงพอใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กรมการท่องเที่ยว. (2559). 12 เมืองต้องห้าม...พลาด. สืบค้น 1 ธันวาคม 2559, จาก www.tourism.go.th

กิติยา ปลื้มจิตไพบูลย์. (2557). แนวทางการในการพัฒนาการบริหารลูกค้าสัมพันธ์สำหรับลูกค้าองค์กรของธุรกิจอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชัยยศ สุริยะ, และจุรีวัลย์ ภักดีวุฒิ. (2558). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของผู้ประกอบการรถยนต์มือสองที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดร้อยเอ็ด. ใน การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ ระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2558 (น. 48-53). วันที่ 20 ธันวาคม 2560 สืบค้นจาก https://mba.kku.ac.th/NICBMI/proceeding

ณรงค์ โพธิพฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย หลักการและแนวคิด เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ปิติ จันทรุไทย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมือง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(2), 79-92.

เมษศจี ศิริรุงเรือง. (2553). ทัศนคติของผูบริโภคกลุมเจเนอเรชั่นเอกซ์ (Generation X) และ กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีตอการทำการตลาดแบบผึ้งแตกรัง (Buzz Marketing). วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิออน ศรีสมยง. (2559). การศึกษาศักยภาพผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการการแพทย์ทางเลือกในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 7(2), 40-59.

รจิต คงหาญ, สรียา พันธุ์ณรงค์, คูณธนา เบี้ยวบรรจง, วิกร จันทรวิโรจน์, และธนศักดิ์ ตันตินาคม. (2559). แนวทางการพัฒนาภาพแบบงานบริการในธุรกิจโรงแรม สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติวัยเกษียณ. วารสารปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 8(3), 107-123.

ระชานนท์ ทวีผล, ชลิตรา ผลาชิต, และนริศรา บูรณ์เจริญ. (2559). แนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรเจ็นเนอเรชันวาย โรงแรมเครือข่ายระดับ 5 ดาว เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 5(2), 50-62.

ศูนย์วิจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีการขนส่งสีเขียว. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์. โครงการศึกษาโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะ (รถประจำทาง) เชื่อมโยงในเขตและรอบเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในการรองรับประชาคมอาเซียน. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์. (2557). ทัศนคติทางเพศของประชากรรุ่นใหม่. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 “ประชากรและสังคม 2557” (น. 233-249). วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 ณ โรงแรมเอเชียราชเทวี. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม (วปส.) มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฮิทท์, มิเชล. เอ., ไอร์แลนด์, อาร์. ดวน, และฮอสคิสสัน, โรเบิร์ท. อี. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์ [Strategic management : competitiveness and globalization.] (เอกชัย อภิศักดิ์กุล และทรรศนะ บุญขวัญ, ผู้แปลและเรียบเรียง) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เซนเกจ เลินนิ่ง

(ประเทศไทย).