ผลของใบหญ้าแฝกที่มีต่อกำลังรับแรงอัดและพฤติกรรมแบบเหนียวของอิฐดินดิบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากแนวคิดในการใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การหันกลับมาสร้างบ้านพักอาศัยด้วยบ้านดินในประเทศไทยจึงเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงสภาพของอิฐดินดิบเพื่อให้มีคุณสมบัติทางกลและอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาผลการใช้ใบหญ้าแฝกแบบสั้น ความยาว 2 4 และ 6 เซนติเมตร ต่อคุณสมบัติด้านกำลังรับแรงอัดและพฤติกรรมแบบเหนียวของอิฐดินดิบ ปริมาณใบหญ้าแฝกแบบสั้นที่ใช้ต่อน้ำหนักของดินและทรายเป็นร้อยละ 0.0, 0.5, 1.0 และ 1.5 ผลการวิจัยพบว่าการใช้ทรายช่วยให้ขั้นตอนการผสมอิฐดินดิบสะดวกและง่ายขึ้น และช่วยลดการหดตัวและแตกร้าวของอิฐดินดิบเมื่อแห้ง การใช้ใบหญ้าแฝกแบบสั้นส่งผลให้ทั้งความหนาแน่นและกำลังรับแรงอัดของอิฐดินดิบลดลงจากการแทนที่มวลดินและทรายในอิฐดินดิบด้วยใบหญ้าแฝกที่มีลักษณะกลวง อย่างไรก็ตามพบว่าการใช้ใบหญ้าแฝกแบบสั้นช่วยปรับปรุงพฤติกรรมแบบเหนียวภายใต้การรับแรงอัดของอิฐดินดิบอย่างชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Banjongkliang, E., Wattanachai, P., and Parichatprecha, R. (2015). Evaluation of strength and microstructure of adobe stabilized with blended rubber latex and sodium silicate, Kasetsart J. (Natural Science), 49(5), 288-300.
Dethier, J. (1986). Des architectures de terre. Edition de centre Pompidou, Paris.
Moral, J. C., Mesbah, A., Oggero, M., and Walker, P. (2001). Building houses with local materials; means to drastically reduce the environmental impact of construction, Building and Environment, 36(10), 1119-1126.
National geographical Committee. (1984). Document of Thailand geography volume 1: Thailand topography. Bangkok.
Neves, R. D., and Fernandes de Almeida, J.C.O. (2005). Compressive behavior of steel fiber reinforced concrete, Structural Concrete, 6(1), 1-8.
Quagliarini, E., Lenci, S., Iorio, M. (2010). Mechanical properties of adobe walls in a Roman republican domus at Suasa. Journal of Cultural Heritage, 11(2), 130-137.
Sangchaya, W. (1994). Earthen houses found in the Lampao river basin Kalasin. Master’s Thesis, Silpakorn University, Bangkok: Silpakorn University.
Sinlapasai, D. (2003). Earth house: an alternative architecture, case study: Baan Srithan,
Aumphor Pateaw, Yasothorn province. Master’s Thesis, Silpakorn University, Bangkok: Silpakorn University.
Thai Meteorological Department. (2007). Thailand climate (in Thai). Retrieved March 1, 2012, from http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=22.
United Nations Thailand. (2008). Thailand info. Retrieved December 1, 2012, from http://www.un.or.th/thailand/geography.html.
วงศกร มูลอ้าย, ปิติวัฒน์ วัฒนชัย, และเอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง. (2557). การศึกษาสัดส่วนผสมแอสฟัลต์อิมัลชัน สำหรับการพัฒนาปูนฉาบผนังบ้านดิน เพื่อให้ทนต่อน้ำ อุณหภูมิและความชื้น. รายงานการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 19, 14-16 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ศุภสันห์ ชื่นศิริกุลชัย, ปิติวัฒน์ วัฒนชัย และเอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง. (2556). การประยุกต์ใช้ใบหญ้าแฝกและแอสฟัลต์อิมัลชันเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกลของอิฐดินดิบ. รายงานการประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 18, 8-10 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมดิเอ็มเพลส จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.