การจัดตารางเส้นทางพาหนะโดยวิธีอัลกอริทึมแบบประหยัด

Main Article Content

ณราวดี สิทธิเดชธำรง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์อัลกอริทึมแบบประหยัด ในการจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าที่เหมาะสม และลดต้นทุนเชื้อเพลิงในการขนส่ง จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าบริษัทกรณีศึกษาไม่มีระบบการจัดเส้นทางการเดินรถขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้วิจัยจึงปรับปรุงการจัดเส้นทางการขนส่ง โดยการประยุกต์ใช้วิธีอัลกอริทึมแบบประหยัดแบ่งขั้นตอนออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ 1. การสร้างเมตริกซ์ระยะทาง 2. การสร้างเมตริกซ์แบบประหยัด 3. การลำดับค่าระยะทางที่ประหยัด  4. จัดลำดับลูกค้าในแต่ละเส้นทาง พบว่าผลการปรับปรุงรถขนส่งคันที่ 1 ระยะทางก่อนปรับปรุง 1,752 กิโลเมตร หลังปรับปรุง 1,371 กิโลเมตร ลดลง 21.75 % ค่าเชื้อเพลิงก่อนปรับปรุง 11,879 บาท/รอบ หลังปรับปรุง 9,401.38 บาท/รอบ ลดลง 20.86 % รถขนส่งคันที่ 2 ระยะทางก่อนปรับปรุง 1,375 กิโลเมตร หลังปรับปรุง 1,341 กิโลเมตร ลดลง 2.47 % ค่าเชื้อเพลิงก่อนปรับปรุง 10,521.40 บาท/รอบ หลังปรับปรุง 10,249.88 บาท/รอบ ลดลง 2.58 % ขนส่งคันที่ 3 ระยะทางก่อนปรับปรุง 1,461 กิโลเมตร หลังปรับปรุง 1,190.50 กิโลเมตร ลดลง 18.55 % ค่าเชื้อเพลิงก่อนปรับปรุง 10,691.10 บาท/รอบ หลังปรับปรุง 8,722.58 บาท/รอบ ลดลง 18.41 %

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี (2565-2567). ธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางถนน [Online]. Available: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/logistics/road-freight-transportation/IO/road-freight-transportation-2022-2024

รศ.รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม, การศึกษางานอุตสาหกรรม, ฉบับปรังปรุงใหม่, บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, 2562.

Nazari, M., Oroojlooy, A., Snyder, L., & Takác, M., “Reinforcement learning for solving the vehicle routing problem,” 32nd Conference on Advances in Neural Information Processing Systems (NeurIPS 2018), Montréal, Canada.

Clarke, Geoff; Wright, John W, “Scheduling of vehicles from a central depot to a number of delivery points,”Operations research, Vol 12(4), 1964, pp. 568-581.

วิไลวรรณ์ แก่นสาร และ สมบัติ สินธุเชาน์, “การเปรียบเทียบวิธีการฮิวริสติกส์สําหรับระบบการจัดการขยะ,” วารสารวิชาการ Thai VCML. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2559) กรกฎาคม - ธันวาคม 2559.

Dantzig, G. B., & Ramser, J. H, “The truck dispatching problem,” Management science, Vol6(1), 1959, pp. 80-91.

Pichpibul, T., & Kawtummachai, R, “An improved Clarke and Wright savings algorithm for the capacitated vehicle routing problem,” Science Asia, Vol38(3), 2012, pp. 307-318.

จารุพงษ์ บรรเทา, นันทพัทธ์ สันติชูวงศ์, วีระชัย ตาลกลาง, “Solving a Vehicle Routing Problem with Time Window by Heuristics Method: A Case Study of Automotive Part Manufacturer,” วารสารวิจัยมทร. กรุงเทพ, ปีที่ 10(2), 2016, pp. 31-42.

Rawirod Pongsub, “Vehicle Routing Arrangement for Automotive Parts: A Case Study Of Automotive Parts Transport Company” Burapha University 2021.