การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการประกอบเครื่องจักรโดยใช้หลักการไคเซ็น กรณีศึกษา บริษัทออกแบบติดตั้งระบบอัตโนมัติ

Main Article Content

สินมหัต ฝ่ายลุย
รุ่งเพชร รัศมี
วีรพงศ์ นุพพล
วิษณุ แฟงเมือง
ภัทรพงศ์ เกิดลาภี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการประกอบเครื่องจักรโดยใช้หลักการไคเซ็น โดยการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและการแก้ไขปัญหา โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้คือ 1) ศึกษากระบวนการประกอบเครื่องจักร 2) ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการประกอบเครื่องจักร เและเลือกประเภทปัญหาที่สำคัญโดยใช้หลักการเครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง 3) วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่ได้รับการเลือกโดยใช้เครื่องมือคุณภาพ และนำเสนอแนวทางการลดปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้หลักการไคเซ็น 4) นำหลักการไคเซ็นปฏิบัติ พร้อมทั้งเปรียบเทียบผล จากการปรับปรุงตามแนวทางที่เสนอ ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพกระบวนการประกอบเครื่องจักรสูงขึ้น เวลาในการประกอบเครื่องจักรลดลง ปัญหาที่เกิดกับลูกค้าน้อยลง ผลิตได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ เนื่องจากการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ปัญหาด้วยเครื่องมือคุณภาพ และดำเนินการวิเคราะห์สาเหตุ และหาวิธีการแก้ไข ส่งผลให้ประสิทธิภาพการดำเนินการประกอบเครื่องจักรสูงขึ้นมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ เวลาของการทํางานที่ลดลงเฉลี่ย 30 เปอร์เซ็นต์ ส่งงานทันตามกำหนดเวลา

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สินมหัต ฝ่ายลุย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering and Architecture,

Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi

60 Moo 3 Asian Highway, Phranakhon Si Ayutthaya 13000

References

U. Kessripongsa (2013). Kaizen endless improvements. Kaizen-2013.Available: http:// blog.bru.ac.th/2019

Kaizen & QCC Productivity Tools for Organizational Development.(2017). Available: https:// piu.ftpi.or.th/wp- content.

Kaizen principles.(online). Available: http://www.thaidisplay.com/content-2.html.

P. Kiedlaphi Ch. komdee Th. Wijansiri W. Fangmuang and S. Phailouie. Production process efficiency by resolving the height quality of Production of glass containers. in Proceeding of 7th Rajamangala Manufacturing and Management Technology Conference 2022 (RMTC2022), Rajamangala University of Technology Isan, Thailand, 2022, pp. 141–147. (in Thai)

P. Kiedlaphi and S. Pungchompoo. (2021). OEE improvement by reducing losses and applying TPM of fish tofu process. in Proceeding of The Conference of Industrial Engineering Network (IE NETWORK 2021), Rajamangala University of Technology Srivijaya, 2021, Thailand, pp. 481–486. (in Thai)

Ch. Kaewchin and S. Worarat. (2020). The increasing of performance efficiency by using KAIZEN concepts. Case Study of The Installation Engineering Department. Master of Engineering Thesis Engineering Management, Dhurakij Pundit University.

P. Kiedlaphi (2016). Defect reduction in the silver jewelry casting process. in Proceeding of The Conference of Industrial Engineering Network (IE NETWORK 2016), Khon Kaen, 2016, Thailand, pp. 669–674. (in Thai)