ระบบสนับสนุนและแนะนำหัวข้อในรายวิชาการศึกษาโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ตรงกับความถนัดของตนเองและความต้องการของตลาดแรงงานโดยใช้ออนโทโลยีร่วมกับโครงงานในอดีต

ผู้แต่ง

  • ภครัช เพลิดพริ้ง Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi
  • อังสนา ผ่อนสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ระบบสนับสนุนและแนะนำ โครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความถนัดของตนเอง ความต้องการของตลาดแรงงาน ออนโทโลยี

บทคัดย่อ

ระบบสนับสนุนและแนะนำหัวข้อในรายวิชาการศึกษาโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้ออนโทโลยี มีวัตถุประสงค์ เพื่อเก็บข้อมูลระบบและขั้นตอนของการพัฒนางานสำหรับเป็นแหล่งข้อมูลโครงงานอย่างเป็นระบบรองรับแนวทางข้อมูลเปิดเผย (Open Data) เพื่อสนับสนุนนักศึกษาในการเลือกหัวข้อในวิชาการศึกษาโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ตรงกับความถนัดของตนเองและความต้องการของตลาดแรงงาน และเพื่อสนับสนุนและเป็นแหล่งข้อมูลให้แก่คณะกรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาในการให้คำแนะนำและเสนอแนะหัวข้อโครงงานให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ซ้ำซ้อนกับงานที่เคยมีอยู่แล้ว โดยงานในส่วนที่ 1 ได้ทำให้บันทึกหรือรายงานโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่กระจัดกระจาย ได้กลายเป็นข้อมูลสารสนเทศ เพื่อพร้อมใช้งานในระบบสารสนเทศต่างๆ รวมถึงการเป็นข้อมูลอ้างอิงที่เหมาะสมกับการใช้งานในระบบสารสนเทศ งานในส่วนที่ 2 คือการสร้างโครงสร้างการจัดเก็บที่เป็นระบบและเป็นสากล เพื่อให้รองรับการใช้งานในเชิงความหมายซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำไปต่อยอดสู่การใช้งานในระบบปัญญาประดิษฐ์ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และส่วนที่ 3 เป็นการออกแบบระบบเพื่อมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในรายวิชาโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้ออนโทโลยี โดยจากผลการทดลองพบว่า มีความถูกต้องแม่นยำสูง และผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เพื่ออ้างอิงงานในอดีตและสนับสนุนการตัดสินใจได้ทั้งประเด็นการต่อยอดงาน ประเด็นการหางานที่เหมาะสมกับตนเอง และการหาอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความสนใจตรงกัน ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน พบว่า อยู่ในระดับพึงพอใจมากทุกด้าน  

References

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560.

คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2560.

กนิษฐา แสนแก้ว การปรับแต้มสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยคะแนนความถนัดทางการเรียน:

การเปรียบเทียบระหว่างวิธีการปรับเทียบอิควิวิเปอร์เซ็นไตล์ เชิงเส้นตรงและไออาร์ที. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

Maslow, A. H. (1954). The Intinction Nature of Basic Needs 1. Journal of Personality, 22(3), 326- 347.

Noy, N.F. and McGuiness, D.L. Ontology Development 101: A Guide to Creating Your First

Ontology. Stanford, CA: Stanford University, 2001.

บุญเดิม พันรอบ. แนวคิดความต้องการแรงงาน.พระนครศรีอยุธยา:มหาวิทยาลัยราชภัฎ พระนครศรีอยุธยา, คณะวิทยาการจัดการ, 2553.

Jones, D., Bench-Capon, T., Visser, P. Methodologies for Ontology Development. 1999. ออนไลน์

สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563. http://cgi.csc.liv.ac.uk/-tbcpublications/itknows.pdf.

สมชาย ปราการเจริญ. ออนโทโลยีทางเลือกของการพัฒนาฐานความรู้ในรูปแบบเชิงเนื้อหา. เอกสาร

ประกอบการสัมมนาทางวิชาการ The 5th National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT 2009). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2548.

Sibarani, E. M., Scerri, S., Morales, C., Auer, S., & Collarana, D. Ontology-guided job market

demand analysis: a cross-sectional study for the data science field. In Proceedings of the 13th International Conference on Semantic Systems, 2017, pp. 25-32.

Rezgui, K., Mhiri, H., & Ghédira, K. Ontology-based e-Portfolio modeling for supporting

lifelong competency assessment and development. Procedia computer science, 2017, 112, 397-406.

Chariyamakarn, W., Ruangrajitpakorn, T., Boonbrahm, P., & Supnithi, T. An Ontology-based

Supporting System for Integrated Farming towards a Concept of the Sufficiency Economy. KKU Science Journal, 2016. 44(4), 691–704.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20

How to Cite

[1]
เพลิดพริ้ง ภ. และ ผ่อนสุข อ., “ระบบสนับสนุนและแนะนำหัวข้อในรายวิชาการศึกษาโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ตรงกับความถนัดของตนเองและความต้องการของตลาดแรงงานโดยใช้ออนโทโลยีร่วมกับโครงงานในอดีต”, JSciTech, ปี 7, ฉบับที่ 2, ธ.ค. 2023.