การระบุชิ้นงานบนสายพานลำเลียงลำเลียงโดยใช้การประมวลผลภาพสี ด้วยกล้องเว็บแคม

ผู้แต่ง

  • นภัสดล สิงหะตา Rajamangala university of technology Suvarnabhumi

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอวิธีการประมวลผลภาพสีโดยใช้กล้องเว็บแคมในการจำแนกสีของชิ้นงานที่มีความแตกต่างกันเพื่อจำแนกวัตถุ 3 ชนิด วางบนสายพานลำเลียง ได้แก่ พลาสติกสีเหลือง พลาสติกสีดำ และอลูมิเนียม มีลักษณะเป็นทรงกระบอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มม. สูง 25 มม. แทนการใช้เซนเซอร์ในการตรวจสอบ จากการทดลองพบว่า เมื่อวางชิ้นงานบนสายพานลำเลียงที่หยุดนิ่งหรือวิ่งด้วยความเร็ว 3 ระดับ ได้แก่ รอบความเร็วต่ำ10 รอบ/นาที ความเร็วปานกลาง 30 รอบ/นาที และรอบความเร็วสูง 60 รอบ/นาที โดยใช้กล้องเว็บแคมเปรียบเทียบกับการใช้เซนเซอร์ 3 ชนิดในการตรวจสอบวัตถุได้แก่ Capacitive Proximity Sensor Fiber optic sensor และ Inductive Proximity Sensor ในการตรวจสอบ ผลปรากฎว่า กล้องและเซนเซอร์สามารถจำแนกวัตถุได้ถูกต้องแม้สุ่มวางชิ้นงานวางลงบนสายพานลำเลียงเพื่อตรวจสอบ โดยวิธีการดังกล่าวเป็นอีกวิธีการที่น่าสนใจและนำระบบประมวลผลภาพโดยใช้กล้องเว็บแคมไปพัฒนาใช้งานแทนเซนเซอร์ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-03

How to Cite

[1]
สิงหะตา น., “การระบุชิ้นงานบนสายพานลำเลียงลำเลียงโดยใช้การประมวลผลภาพสี ด้วยกล้องเว็บแคม”, JSciTech, ปี 4, ฉบับที่ 1, มี.ค. 2023.