การออกแบบสร้างเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังอัตโนมัติ

ผู้แต่ง

  • ปณต ศรีภครัชต์ Thonburi University

คำสำคัญ:

เครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง, ต้นมันสำปะหลัง, ไมโครคอนโทรลเลอร์, พืชสร้างเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

              บทความนี้นำเสนอวิธีการออกแบบสร้างเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังอัตโนมัติ แบบตัดขวางในแนวระนาบ เพื่อลดระยะเวลาการตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานคน และลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง โดยใช้บอร์ดควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ชนิด Arduino Mega 2560 ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังอัตโนมัติ สามารถปรับเปลี่ยนระบบการทำงานได้ 2 ระบบคือ ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติและระบบการทำงานแบบป้อนคำสั่งควบคุมด้วยมือ สามารถลำเลียงต้นพันธุ์ผ่านระบบสายพานลำเลียงได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนครั้งละไม่เกิน 20 ต้น และสามารถปรับตั้งค่าขนาดความยาวของท่อนพันธุ์มันสำปะหลังได้สูงสุดไม่เกิน 100 เซนติเมตร ซึ่งจากการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังอัตโนมัติที่ออกแบบสร้าง เปรียบเทียบกับการตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่มีอยู่เดิมด้วยมีดสับจากแรงงานคนพบว่า เครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังอัตโนมัติ สามารถเพิ่มจำนวนการตัดท่อนพันธุ์ได้ถึง 1,631 ท่อนต่อชั่วโมง หรือเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,965 ท่อนต่อชั่วโมง (ขนาดบวกลบไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร) อีกทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายหรือลดต้นทุนการตัดท่อนพันธุ์ได้ถึง 0.018 บาทต่อท่อน จากเดิมอยู่ที่ 0.033 บาทต่อท่อน ซึ่งการตัดท่อนพันธุ์ด้วยเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังอัตโนมัติ มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนอยู่ที่ 0.015 บาทต่อท่อน และเมื่อวิเคราะห์เป็นจุดคุ้มทุนการใช้เครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังอัตโนมัติพบว่า มีจุดคุ้มทุนที่ต้นทุนรวมอยู่ที่ 60,197 บาท จากต้นทุนคงที่ 33,000 บาท ที่จำนวนท่อนพันธุ์ 1,847,431 ท่อน ด้วยระยะเวลา 613 ชั่วโมง หรือประมาณ 2-3 เดือน (กรณีใช้งานเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังอัตโนมัติตลอด 8 ชั่วโมงต่อวัน)

References

สถานการณ์การผลิตมันสำปะหลัง. (2563). สวนสินค้าเกษตร. สำนักการสินค้า. (มีนาคม 2563).

อนุชิต ฉ่ำสิงห์. (2556). วิจัยและพัฒนาเครื่องตัดต้นมันสำปะหลังแบบติดตั้งหน้ารถแทรกเตอร์. (รายงานการวิจัย). สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6: กรมวิชาการเกษตร.

สมลักษณ์ จูฑังคะ. (2551). เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง. (เอกสารวิชาการ). สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

คุรุวรรณ์ ภามาตย์, ประสาท แสงพันธุ์ตา, พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์, สากล วีริยานันท์, นิวัต อาระวิล, ณัฐสิทธิ์ อยู่เย็น, และเทียนชัย เหลาลา. (2556). วิจัยและพัฒนาเครื่องตัดท่อนมันสำปะหลัง. ประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติครั้งที่ 14 และระดับนานาชาติครั้งที่ 6, 14(23), 303-309.

จตุรงค์ ลังกาพินธุ์, สุทิน เหล่าโก่ง, ภูวนาท สินสวัสดิ์, และชัยยงค์ ศรีประเสริฐ. (2551). การพัฒนาเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ราชมงคลธัญบุรี, 6(12), 19-26.

ปิยวิทย์ สุทธิวงศ์ และอภิเดช ภูมิกอง. (2556). เครื่องตัดท่อนมันสำปะหลังแบบเคลื่อนที่. (ผลงานนวัตกรรม). สุพรรณบุรี: วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง.

มารุต อัฒจักร, พิมาย จุกสีดา, และศิวัช จันทนวงษ์. (2558). เครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง. (ผลงานนวัตกรรม). ชลบุรี: วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคม.

จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ และรุ่งเรือง กาลศิริศิลป์. (2554). การออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดวางรายต้นพันธุ์มันสำปะหลัง. (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ตังค์ทอน. (2565). การเลือกใช้เลื่อยวงเดือน. เข้าถึงได้จาก https://tangthon.com/best-circular-saws/

ปณต ศรีภครัชต์ และบัญชา ศรีวิโรจน์. (2563). การออกแบบเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี. 4(2), 12-26.

เผยแพร่แล้ว

2023-07-06

How to Cite

[1]
ศรีภครัชต์ ป., “การออกแบบสร้างเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังอัตโนมัติ”, JSciTech, ปี 7, ฉบับที่ 1, ก.ค. 2023.