การศึกษาศักยภาพของมะขามเทศพันธุ์เพชรโนนไทยในการผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • เดือนเพ็ญ คำพวง -

คำสำคัญ:

มะขามเทศเพชรโนนไทย; ใยอาหาร; ต้านอนุมูลอิสระ; ต้านการอักเสบ; เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของมะขามเทศพันธุ์เพชรโนนไทย โดยใช้มะขามเทศแช่แข็งจากวิสาหกิจชุมชนมะขามเทศเพชรโนนไทยบ้านสันเทียะ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562 หมายเลขคำขอ 62100226 และทะเบียนเลขที่ สช 63100139 การศึกษาพบว่า เนื้อมะขามเทศมีปริมาณใยอาหารร้อยละ 1.12 และสารสกัดมะขามเทศที่ความเข้มข้น 300 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ก่อนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ DPPH และ IC50 พบว่ามีค่าเท่ากับ 75.09 ± 0.58 เปอร์เซ็นต์ และ 0.140 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีศักยภาพในการต้านการอักเสบที่ประเมินจากความสามารถในการยับยั้งการเสื่อมสภาพของโปรตีน โดยพบว่าสารสกัดมะขามเทศที่ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ก่อนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน สามารถยับยั้งการเสื่อมสภาพของโปรตีนได้ร้อยละ 46.89 ± 0.47 ซึ่งใกล้เคียงกับสารมาตรฐาน acetylsalicylic acid แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะขามเทศเพชรโนนไทยบ้านสันเทียะ ได้นำข้อมูลจากผลการวิจัยนี้ ผลิตเป็นน้ำไฟเบอร์มะขามเทศ ตรา มาทาโกะ (Matako Manila tamarind de Korat)

คำสำคัญ: มะขามเทศเพชรโนนไทย; ใยอาหาร; ต้านอนุมูลอิสระ; ต้านการอักเสบ; เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (12 พฤษภาคม 2563). สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สช 63100139 มะขามเทศเพชรโนนไทย. สืบค้นจาก https://www.ipthailand.go.th/th/gi-011/item/gi63100139.html

สินีนาถ สุขทนารักษ์, กรรณิกา พุ่มระย้า, นัทธมน เอี่ยมแพร และธิดารัตน์ บอกกลับ. (2023). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้ตัวหนอนทดแทนแป้งสาลีด้วยแป้งกล้วยสอดไส้เนื้อมะขามเทศกวน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 18(1), หน้า 89-99.

Pradeepa, S., Subramanian, S., & Kaviyarasan, V. (2013). Biochemical evaluation of Antidiabetic properties of Pithecellobium dulce fruits studied in streptozotocin induced experimental diabetic rats. International Journal of Herbal Medicine, 1(4), p.p. 21-28.

Kulkarni, K. V., & Jamakhandi, V. R. (2018). Medicinal uses of Pithecellobium dulce and its health benefits. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 7(2), p.p. 700-704.

Kasarla Raju, K. R., & Jagadeeshwar, K. (2014). Phytochemical investigation and hepatoprotective activity of ripe fruits of Pithecellobium dulce in albino rats. Scholars Academic Journal of Pharmacy, 3(6), p.p. 449-454.

Pehlivanović, B., Čaklovica, K., Lagumdžija, D., Žiga Smajić, N., & Bečić, F. (2021). In-vitro evaluation of pleiotropic properties of rosuvastatin. International Journal of Pharmaceutical Sciences and Research, 12(2), p.p. 1201-1206.

หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์ และ จิรพร สวัสดิการ. (2018). ปริมาณใยอาหารและคุณสมบัติการต้านแบคทีเรียของใยอาหารจากเปลือกทุเรียนที่ผ่านการทำแห้งแบบลมร้อนและแบบแช่เยือกแข็ง. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), หน้า 178-185.

Koomklang, N., & Panya, N. (2024). Assessment of in vitro Anti-inflammatory and Anti-acne- inducing Bacterial Activities of Kameng (Eclipta prostrata Linn.) Cultivated in Suphan Buri Province, Thailand. Journal of Current Science and Technology, 14(2), p.p. 1-10

Dada, S. O., Ehie, G. C., Osukoya, O., Anadozie, S. O., Adewale, O.B. and Kuku, A. (2023). In vitro antioxidant and anti‑infammatory properties of Artocarpus altilis (Parkinson) Fosberg (seedless breadfruit) fruit pulp protein hydrolysates. Scientific Reports, 13(1),

Manna, P., Bhattacharyya, S., Das, J., Ghosh, J., & Sil, P. C. (2011). Phytomedicinal Role of Pithecellobium dulce against CCl4‐mediated Hepatic Oxidative Impairments and Necrotic Cell Death. Evidence‐Based Complementary and Alternative Medicine, 2011(1),

Vitaglione, P., Morisco, F., Caporaso, N., & Fogliano, V. (2004). Dietary antioxidant compounds and liver health. Critical reviews in food science and nutrition, 44(7-8), p.p. 575-586.

He, Y., Wang, B., Wen, L., Wang, F., Yu, H., Chen, D., Su, X., & Zhang, C. (2022). Effects of dietary fiber on human health. Food Science and Human Wellness, 11(1), p.p. 1-10.

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23

How to Cite

[1]
คำพวง เ., “ การศึกษาศักยภาพของมะขามเทศพันธุ์เพชรโนนไทยในการผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ”, JSciTech, ปี 8, ฉบับที่ 3, ธ.ค. 2024.