ความชุกของการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานบริษัทแปรรูปอาหารแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • มณีรัตน์ สวนม่วง -
  • อารีย์ จอแย
  • พัทธนิษย์ คำธาร

คำสำคัญ:

สมรรถภาพการได้ยิน, พนักงงานบริษัทแปรรูปอาหาร, อันตรายจากเสียง, Hearing Ability, Food processing worker, Noise hazard

บทคัดย่อ

ภัยเงียบสำคัญที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานคือ “เสียง” ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถมองเห็นได้เป็นรูปธรรม จึงอาจส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานได้ เช่น ทำให้เกิดการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน ซึ่งส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจรวมถึงลดประสิทธิภาพการทำงาน การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของสมรรถภาพการได้ยินและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลกับสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานบริษัทแปรรูปอาหารแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน จำนวน 130 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีของแดเนียล (Daniel) และทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) ตามแผนกที่สนใจจากนั้นทำการจับฉลากและปฏิบัติงานในสถานที่มีเสียงดัง ศึกษาช่วงเดือน กันยายน-พฤศจิกายน 2564 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและเครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometer SIBELSOUND 400 – AM) และแบบบันทึกผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลกับสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานโดยใช้การทดสอบ t-test และ     oneway anova

               ผลการศึกษา พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 77.70 อายุเฉลี่ย 38.72 ปี ประสบการณ์เฉลี่ย 9.16 ปี และสัมผัสเสียงดังมากกว่า 6 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 32.65 ความชุกของสมรรถภาพการได้ยิน พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เริ่มเสื่อมสมรรถภาพการได้ยิน ร้อยละ 52.30 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลทำให้สมรรถภาพการได้ยินต่างกัน พบว่า ปัจจัยอายุและประสบการณ์ทำงาน เป็นปัจจัยที่ทำให้สมรรถภาพการได้ยินแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยในครั้งนี้คือ ควรจัดหาอุปกรณ์ป้องกันเสียงดังให้กับพนักงานที่ทำงานเป็นระยะเวลานาน เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของสมรรถภาพการได้ยิน

Noise caused by machines in operation is a silent danger. This is an environmental problem that cannot be seen but can affect operators such as causing hearing loss, health effects both physically and mentally as well as reducing work efficiency. The objective of this study was to determine the prevalence of hearing loss and compare personal factors affecting hearing loss Among Food processing worker in Wiang pa pao district, Chaing rai province. The sample consisted of 130 employees, the sample size was determined using Daniel's method and stratified sampling was performed according to the department of interest and working in noisy places, study during September-November 2021. Data were collected by using questionnaire and a hearing monitor (Audiometer SIBELSOUND 400 – AM) and record form. Analyzing was conducted by using descriptive statistics: percentage, mean, standard deviation and compared personal factors affecting the hearing loss of employees using t-test and oneway anova.

               The results of the study found that the majority of employees were female, 77.70%, mean age 38.72 years, average experience 9.16 years, and exposed to loud noises for more than 6 hours to 32.65%. The prevalence of hearing loss found that the majority of employees began to have hearing impairment, 52.30%. The compare differences between personal factors affecting hearing loss found that age factors and work experience cause differences in hearing loss with statistical significance at the 0.05 level. The suggestion from this study is Noise protection equipment should be provided to employees who work for long periods of time to help slow the deterioration of hearing

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28

How to Cite

[1]
สวนม่วง ม., จอแย อ., และ คำธาร พ., “ความชุกของการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานบริษัทแปรรูปอาหารแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย”, JSciTech, ปี 6, ฉบับที่ 2, ธ.ค. 2022.