The การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดไผ่สามเกาะ (ปัญญาประชาสามัคคี)

ผู้แต่ง

  • สุมาลี สุนทรา Nakhon Pathom Rajabhat University

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดไผ่สามเกาะ (ปัญญาประชาสามัคคี) 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และ 4) หาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความเหมาะสมบทเรียนออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิตสื่อ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.80, S.D. = 0.39) 2) ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD มีค่าเท่ากับ 86.67/81.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วย บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.68, S.D. = 0.58)

คำสำคัญ: บทเรียนออนไลน์; การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD; วิทยาการคำนวณ

ABSTRACT

The purposes of this research were as follows: 1) To develop online lessons with STAD techniques on Computational Science for Grade 7 students at Wat Phai Sam Ko School (Panya Pracha Samakkhi), 2) to find the efficiency of the developed online lessons, 3) to compare the students’ learning achievement before and after learning with the online lessons with STAD techniques, and 4) to find the students’ satisfaction towards the online lessons with STAD techniques. The sample group were 17 students in Grade 7. The tools used in the research were the online lessons with STAD techniques, academic achievement tests, and satisfaction questionnaires.

The results of this research were as follows: 1) The  online lessons evaluated by 3 experts had the overall appropriateness of the content and the media production techniques at the highest level (𝑥̅ = 4.80, S.D. = 0.39), 2) the efficiency level of the developed online lessons with STAD techniques was 86.67/81.57 which was higher than the set criteria of 80/80, 3) the students’ learning achievements after learning with the online lessons with STAD techniques were statistically significantly higher than before learning at .05 level, and 4) the students’ overall satisfaction towards the online lessons with STAD techniques was at the highest level (𝑥̅ = 4.68, S.D. = 0.58).

Keywords: Online Lessons; STAD Techniques; Computational Science

References

เอกสารอ้างอิง

สุรินทร์ เพชรไทย. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์รายวิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้อีเลิร์นนิ่ง.

ในการประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2560.

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วัชรพัฒน์ ศรีคำเวียง. วิทยาการคำนวณ (Computing Science). สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2567,

จาก https://www.scimath.org/lesson-technology/item/8808-computing-science.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2567 จาก

https://oho.ipst.ac.th/ipst-cs-course-description-m1-m6/

ฉันทพัฒน์ อุตตะมา. ความหมายการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. 2563. สืบค้นจาก

https://www.gotoknow.org/posts/553956

ขนิษฐา ผลบุญเรืองและเฉลิม ทองจอนและเพชร ชมพูรัตน์. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ STAD วิชา

คอมพิวเตอร์พื้นฐาน เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร. ในการประชุมระดับชาติ

ครุศาสตรศึกษา ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม (ส่วนวังจันทน์), 2562.

มนต์ชัย เทียนทอง. สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2558, หน้า 131 - 135.

สิธาภรณ์ ปั่นพิมาย และณัฐพล รำไพ. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างร่างกายที่เป็นพื้นฐานความ

งาม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร,

กรุงเทพ 2565.

กนกวรรณ มนต์ชัย. การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัย

และนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษา,กรุงเทพมหานคร, 2566.

วรางคณา เจริญรักษา และวิภาดา ประสารทรัพย์. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD และแบบสืบเสาะหาความรู้. The 1st National Conference Mahamakut Buddhist

University. วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย, 2565.

นพมาศ น่วมปฐม และวิมาน ใจดี. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ

ร่วมมือด้วยเทคนิค STADรายวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2562.

เผยแพร่แล้ว

2024-09-15

How to Cite

[1]
สุนทรา ส., “The การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดไผ่สามเกาะ (ปัญญาประชาสามัคคี)”, JSciTech, ปี 8, ฉบับที่ 2, ก.ย. 2024.