การเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการฝึกปฎิบัติจริง สำหรับนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ผู้แต่ง

  • มยุรี สวัสดิ์เมือง Rajamangala University of Technology Rattanakosin
  • ขวัญฤทัย บุญยะเสนา
  • สุจิรา ไชยกุสินธุ์
  • สุวีณา รุ่งโรจน์รัตนากร
  • Peter Ajonghakoh Foabeh
  • สุนทรา เฟื่องฟุ้ง

คำสำคัญ:

ภาษาอังกฤษ; การเรียนการสอนแบบบูรณาการ; เทคโนโลยีดิจิทัล; การฝึกปฏิบัติจริง; นักศึกษาสาย วิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการฝึกปฏิบัติจริงสำหรับนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษ อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ และนักศึกษา เพื่อนำมาออกแบบการสอนภาษาอังกฤษสำหรับวิชา “ภาษาอังกฤษเพื่อการสนทนาเชิงโต้ตอบ” ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สำหรับกลุ่มทดลองคือนักศึกษาจำนวน 33 คน รวมทั้งยังมีการเก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์ในระหว่างการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาและปรับปรุง ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักศึกษามีส่วนร่วมผ่านโซเชียลมิเดีย เช่นยูทูปและติกต๊อกที่สามารถสร้างความเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัยยังพบว่าเกิดผลสัมฤทธิ์จากการเรียนการสอนดังกล่าวจากชุดกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย การบรรยาย การอภิปราย การสอนแบบโปรแกรม การระดมสมอง และการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการฝึกปฏิบัติจริง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม พบว่า เกิดผลสัมฤทธิ์ในการสอน ทำให้นักศึกษาประเมินทักษะทั้ง 4 ด้าน (ฟัง พูด อ่าน และ เขียน) ของตนเอง ในระดับที่ดีขึ้น จากการประเมินตนเองหลังการเรียนรู้ นักศึกษาคิดว่าตนเองมีทักษะอยู่ใน ระดับมาก เพิ่มขึ้นทั้ง 4 ทักษะ และ ระดับมากที่สุด เพิ่มขึ้นในทักษะด้านการฟังและการเขียน จึงสรุปได้ว่าการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าวสามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาโดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญและควรขยายผลไปสู่ชั้นเรียนอื่น ๆ ต่อไป

References

Ethnologue. Languages of the World, 2019. Retrieve from http://web.archive.org/web/19990429232804/www.sil.org/ethnologue/top100.html

Edudwar. List of Most Speaken Languages in the World – Top Languages in the World, 2023. Retrieve from https://www.edudwar.com/list-of-most-spoken-languages-in-the-world/

Li, X., Li, L. Characteristics of English for Science and Technology. International Conference on Humanities and Social Science Research (ICHSSR 2015), 2015, p.p. 116-165.

EF EPI. EF English Proficiency Index, 2024. Retrieved from https://www.ef.com/wwen/epi/regions/asia/thailand/

ธิษณา ศรัทธารัตน์ธนา. การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในวิถีชีวิตใหม่ในบริบการศึกษาของประเทศ

ไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 2564, 20(3), หน้า C1-C15.

วันทนีย์ บางเสน. การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาเฉพาะด้านสาขาวิชากา

สอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร. Journal of Humanities, Social

Sciences and Arts. 2562,12(1), p.p. 1193-1207.

Smith, M. K. David A. Kolb on experiential learning, the encyclopedia of informal education, 2010, Retrieved from https://infed.org/david-a-kolb-on-experiential-learning/

Lu, H., Gong, S. and Clarke, B. The Relationship of Kolb Learning Styles, Online Learning Behaviors and Learning Outcomes. Journal of Educational Technology and Society, 2007, 10(4), p.p. 187-196.

Taneerat, W. Effectiveness of Work-Integrated Learning Model: Case Study on Project Formulation and Policy Analysis Course. Journal of Education and Innovative Learning, 2021, 1(2), p.p. 141–156.

Jansen, B. J., Booth D. and Smith, B. Using the Taxonomy of Cognitive Learning to Model Online Searching. Information Processing & Management, 2009, 45(6), p.p. 643-663.

แสงเดือน พรหมสุขันธ์ และ วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์. การพัฒนาความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาที่สองของบิลาชร่วมกับผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2565, 3(2), 101-107.

อนงค์ ไต่วัลย์, ขวัญฤทัย บุญยะเสนา และ สุรชาติ บัวชุม. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยในกลุ่มรัตนโกสินทร์. รายงานวิจัยทุนงบประมาณแผ่นดิน 2562, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ขวัญฤทัย บุญยะเสนา, ธีระวัฒน์ เหมือนศรีชัย, สุนันทา ชูตินันท์, Peter Ajonghakoh Foabeh, Francisco Martinez Mora, เดือนรุ่ง ช่วยเรือง, นฤมล พัวไพบูลย์, ปริญญา มากลิ่น, นิสิต คำพิกุล และนายสินชัย ประเสริฐวาร. การเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการฝึกปฏิบัติจริง โดยสร้างการเรียนรู้ให้สนุกสำหรับนักศึกษาสายสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. รายงานการประชุมวิชาการ 7th Liberal Arts National Conference: Integrated Disciplines and Research for Sustainable Development (LANC 2022), 2565, หน้า 99-117 .

ธีระวัฒน์ เหมือนศรีชัย, ขวัญฤทัย บุญยะเสนา, ศิริภรณ์ ศิลปวานิช, สุภัทรา โกไศยกานนท์, อัมพร อนุพันธ์ และ Milla Kinnunen. การพัฒนาชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบบูรณาการผ่านการฝึกปฏิบัติจริงของนักศึกษาโปรแกรมภาษาไทย: กรณีศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยในกลุ่มรัตนโกสินทร์. รายงานการประชุมวิชาการ Thailand Research Expo: Symposium, 2563, หน้า 282-294.

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23

How to Cite

[1]
สวัสดิ์เมือง ม., บุญยะเสนา ข. ., ไชยกุสินธุ์ ส., รุ่งโรจน์รัตนากร ส., P. Foabeh, และ เฟื่องฟุ้ง ส., “การเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการฝึกปฎิบัติจริง สำหรับนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล”, JSciTech, ปี 8, ฉบับที่ 3, ธ.ค. 2024.