แอปพลิเคชันการบริหารร่างกายลดความเมื่อยล้า

ผู้แต่ง

  • บุญญาพร บุญชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, บริหารร่างกาย, เมื่อยล้า

บทคัดย่อ

อาการเมื่อยล้าเป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบันอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงาน ผู้มีอาการเมื่อยล้าจะสูญเสียสมาธิ ไม่มีแรงกระตุ้น และมีพลังงานในการกระทำสิ่งใด ๆ ลดน้อยลง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง การบริหารร่างกายด้วยท่วงท่าที่ถูกต้องและทำอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยลดอาการเมื่อยล้าลง ในปัจจุบันสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายและสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันการบริหารร่างกายลดความเมื่อยล้า และ 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความพึงพอใจของผู้ใช้งาน แอปพลิเคชันถูกออกแบบให้แสดงท่าการบริหารร่างกายในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และสามารถกำหนดเวลาเพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทำการบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ แอปพลิเคชันทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ถูกพัฒนาโดยใช้ฟลัสเตอร์เฟรมเวิร์ก ภาษาดาร์ท และใช้ฐานข้อมูลไฟล์เบส ระบบที่พัฒนาถูกประเมินความเหมาะสมของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน พบว่าแอปพลิเคชันที่พัฒนามีความเหมาะสมในด้านเทคนิคและด้านการออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านกระบวนการในการทำงานอยู่ในระดับมาก ระบบที่พัฒนาถูกประเมินความพึงพอใจโดยผู้ใช้จำนวน 30 คน พบว่าด้านการออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้งานและด้านกระบวนการทำงานอยู่ระดับมาก

References

วรรณะ คงโต. (2563). ความเมื่อยล้าและสมรรถนะทางกายทั่วไปของพนักงานผลิตบริษัทแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

ปาจรา โพธิหัง, นนทกร ดำนงค์, และอโนชา ทัศนาธนชัย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรมกับพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรม ของบุคลากรสายสนับสนุน ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(2), 235-250

กันจณา สุทาคำ, มุกดา หนุ่ยศรี, และวาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. (2562). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองด้วยการบริหารร่างกายแบบมณีเวชต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานของกลุ่มเกษตรกรอำเภอปง จังหวัดพะเยา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(2), 70-79

ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ

ปิยฉัตร ดีสุวรรณ. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการยศาสตร์ร่วมกับการปรับสมดุลร่างกายด้วย ศาสตร์มณีเวช ต่อการลดอาการปวดทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จากการทำงานในบุคลากรโรงพยาบาลแพร่. วารสารควบคุมโรค, 48(1), 174-188

วรรณิตา คำนุ้ย. (2556). แอปพลิเคชันเตือนการบริหารร่างกายเพื่อป้องกันการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภัทรภร อินทนาศักดิ์, วิชนี มัธยม, ธนาวรรณ รัมมะภาพ, และมณฑิตา พูดสงคราม. (2566). แอปพลิเคชันแนะนำการออกกําลังกายสำหรับผู้สูงอายุบนสมาร์ทโฟน. วารสารสารสนเทศ, 22(1), 92-106

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

น้ำเพ็ญ พรหมประสิทธิ์, สุภาวดี มากอ้น, และสมชาย ตุละ. (2563). แอปพลิเคชันส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุผ่านสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 12(1), 164-175

เผยแพร่แล้ว

2024-09-15

How to Cite

[1]
บุญชัย บ., “แอปพลิเคชันการบริหารร่างกายลดความเมื่อยล้า”, JSciTech, ปี 8, ฉบับที่ 2, ก.ย. 2024.