การประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการออกแบบตราสัญลักษณ์สินค้า เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ; วิสาหกิจชุมชน; ตราสัญลักษณ์สินค้าบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการนำแนวคิดการประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการออกแบบตราสัญลักษณ์สินค้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท 2) ทดลองใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการออกแบบตราสัญลักษณ์สินค้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท 3) ประเมินความพึงพอใจตราสัญลักษณ์สินค้าที่ออกแบบตามกระบวนการ โดยประเมินประสิทธิภาพจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจำนวน 3 ท่าน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งหมด 18 คน และประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มที่มาเที่ยวงาน กินเล่น Beach Festival จ.ชัยนาท จำนวน 100 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินตราสัญลักษณ์สินค้า และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้แนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) การทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง (2) การระบุปัญหาและกรอบของปัญหา (3) การหาแนวทางแก้ไข (4) สร้างต้นแบบ และ (5) การทดลองใช้ 2) ผลการใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบพบว่าตราสัญลักษณ์สินค้าที่ออกแบบมีประสิทธิภาพในระดับมากที่สุด (x= 4.66, S.D.=0.22) 3) ได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x= 4.77, S.D.=0.29) ในตราสัญลักษณ์ใหม่และสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นเพราะมีความกะทัดรัด สั้น และจดจำง่ายมีอักลักษณ์ สามารถนำไปเป็นเครื่องหมายทางการค้าได้
References
Brown, T., & Wyatt, J. (2010). Design thinking for social innovation. Journal of MCU Social Science Review, A10-A20.
ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุทธยา และ จูจิต ตรีรัตนพันธ์.(2560). การคิดเชิงออกแบบ : เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).
Kotler, P., & Armstrong, G. (2018). Principles of Marketing(17thed.). England : Pearson.
Harlow, England: Pearson Education Limited. Stanford Social Innovation Review, 8,30-35.
The d.school. 2010. Bootcamp Bootles. Stanford: Hasso Plattner Institute of Design.
(กรมส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. 2565)
พิมพ์ลภัทร ศรีมณฑา และพัชร พิลึก. (2554) ภาพลักษณ์ตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OPC) ใน จังหวัดนนทบุรี. รายงานการวิจัย วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.
ยศกร วรรณวิจิตร. (2565). การประยุกต์ใช้ความคิดเชิงออกแบบในกระบวนการนโยบายสาธารณะ.วารสาร มจร สังคมศาสตรปริทรรศน์, 11(4), A10-A20.
วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง, ยรรยง คชรัตน์, นธี เหมมันต์, จุฑามาศ พรหมมนตรี, นิศาชล สกุลชาญณรงค์ และฐานันท์ ตั้งรุจิกล (2561). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และป้ายฉลากเครื่องแกงตามือ บ้านทุ่งชุมพลพัฒนา ตำบลลานช่อยอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง.การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, หน้า 1491-1505. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.