การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี เรื่องมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model

ผู้แต่ง

  • ปิยณิชา สงวนนาม Department of Biology, Bachelor of Education Program, Faculty of Science and Technology, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Bangkok

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MACRO model และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model เรื่องมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี จำนวน 45 คน โดยเลือกแบบจำเพาะเจาะจง  กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model ด้วยการจัดการเรียนรู้เป็นเวลา 5 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model เรื่องมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Paired Samples T-test)

         ผลการวิจัยพบว่า คะแนนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.53 คะแนน จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.28 เมื่อมีการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model เรื่องมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่องมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 12.07 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.11 จากนั้นนำค่าเฉลี่ยของสองกลุ่มมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยโปรแกรมทางสถิติ  พบว่าค่าเฉลี่ยโดยผลสัมฤทธิ์หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ดิเรก วรรณเศียร. เอกสารประกอบการสอน MACRO model : รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2559, สืบค้นจาก. https://bit.ly/3fRijFu

กระทรวงศึกษาธิการ. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2560.

วันวิสา กองแสน (2558). การศึกนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ และเจตคติต่อการเรียนวิชาชีววีทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาชีววิทยาศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา), 2558.

ฟิกรี กีไร. การเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคงทนในการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา เรื่องอาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ MACRO MODEL ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต), 2561.

ธนพร เลิศโพธาวัฒนา. การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21: MACRO model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต), 2561.

ดวงใจ งามศิริ, นิภาพร บุญยศ และนิพล พินิจวัจนะวงศ์. การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบ MACRO model ในรายวิชาการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 2562, 3(2), หน้า 69-80.

พงษ์ธลักษณ์ สิบแก้ว, ธเนศ พงศ์ธีรัตน์ และปิยะรัตน์ ชาวอบทม. เจตคติต่อการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO เรื่อง ระบบประสาท ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562.

ชุติมา นุ้ยชิต, จิระสุข สุขสวัสดิ์ และนิธิพัฒน์ เมฆขจร. ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้รูปแบบแมโครเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563.

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22

How to Cite

[1]
สงวนนาม ป., “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี เรื่องมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model”, JSciTech, ปี 7, ฉบับที่ 2, ม.ค. 2024.