การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตอาหารหมักร่วมกับวัสดุฐานถั่งเช่าสีทอง
คำสำคัญ:
คอร์ไดเซปิน, จุลินทรีย์, วัสดุเพาะถั่งเช่าสีทอง, อะดีโนซีน, อาหารหมักบทคัดย่อ
วัสดุเพาะถั่งเช่าสีทองที่เหลือหลังการเก็บเกี่ยวมีปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพน้อยกว่าในส่วนของดอก แต่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สามารถแปรรูปเป็นสินค้าอาหารที่หลากหลายได้ งานวิจัยนี้จึงศึกษาลักษณะของวัสดุเพาะถั่งเช่าสีทองและผลของสารสกัดต่อการเจริญของจุลินทรีย์อาหารหมัก เพื่อหาแนวทางประยุกต์ใช้ร่วมกับอาหาร พบว่าลักษณะทางกายภาพของวัสดุเพาะแบบสดมีสีส้มเหลืองและมีกลิ่นอับคล้ายกับวัสดุเพาะเห็ดทั่วไป มีความชื้น 55.7±2.2 เปอร์เซ็นต์ เมื่ออบแห้งจะมีสีเข้มและมีกลิ่นหอมมากขึ้น สัดส่วนของน้ำหนักลดลงจากวัสดุเพาะแบบสด 2.2±0.1 เท่า มีองค์ประกอบของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เยื่อใย เถ้า แคลเซียม และฟอสฟอรัส เท่ากับ 85.33±0.37, 8.89±0.22, 0.51±0.12, 2.19±0.11, 0.45±0.03, 0.05±0.01 และ 0.08±0.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มีสารคอร์ไดเซปินและอะดีโนซีนเท่ากับ 420 และ 119 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ เมื่อสกัดสารด้วยตัวทำละลายเอทานอลจะได้ปริมาณสารสำคัญมากกว่าสกัดด้วยน้ำถึง 50 เปอร์เซ็นต์ จากลักษณะเหล่านี้ การแปรรูปฐานวัสดุเพาะถั่งเช่าสีทองจึงเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุดิบหลักเป็นธัญพืชและมีแอลกอฮอล์ โดยที่สีส้มเหลืองของวัสดุเพาะไม่กระทบต่อลักษณะของอาหาร จึงเลือกคัดแยกจุลินทรีย์จากหัวเชื้อสาโท ข้าวหมาก ไวน์ คีเฟอร์ และเทมเป้ ซึ่งคัดแยกจุลินทรีย์ได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ ยีสต์ รา และแบคทีเรีย เมื่อทดสอบผลของสารสกัดวัสดุเพาะต่อการเจริญของจุลินทรีย์เหล่านี้ พบว่าสารสกัดความเข้มข้น 2.5, 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีผลต่อการเจริญของจุลินทรีย์ในกลุ่มยีสต์และราส่วนใหญ่ แต่ยับยั้งการเจริญบางส่วนของราในหัวเชื้อเทมเป้ที่ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ และยับยั้งกลุ่มแบคทีเรียที่ทุกความเข้มข้นของสารสกัด ดังนั้นในการแปรรูปวัสดุเพาะถั่งเช่าสีทองจึงเหมาะสมกับอาหารหมักที่ใช้จุลินทรีย์ในกลุ่มยีสต์และราเป็นหลัก
References
Cui, L., Dong, M. S., Chen, X. H., Jiang, M., Lv, X., and Yan, G. A novel fibrinolytic enzyme from Cordyceps militaris, a Chinese traditional medicinal mushroom. World Journal of Microbiology and Biotechnology, 2008, 24, p.p. 483-489.
Nakthong, S. and Khammuangsa, P. The use of water extraction from Cordyceps militaris waste medium in goat milk yogurt on sensory characteristics. Journal of Agricultural Science and Management, 2018, 1(1), p.p. 13-21.
Bhandari, A.K., Negi, J.S., Bisht, V.K., Rana, C.S., Bharti, M.K. and Singh, N. Chemical constituent, inorganic elements and properties of Cordyceps sinensis – a review. Nature and Science of Sleep, 2010, 8, p.p. 253-256.
Ahn, Y.J., Park, S.J., Lee, S.G., Shin, S.C., and Choi, D.H. Cordycepin: selective growth inhibitor derived from liquid culture of Cordyceps militaris against Clostridium spp. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 2000, 48, p.p. 2744-2748.
Kim, G.B., Seo, Y.M., Kim, C.H., and Paik, I.K. Effect of dietary prebiotic supplementation on the performance, intestinal microflora, and immune response of broilers. Poultry Science, 2011, 90, p.p. 75–82.
Rhee, S.J., Lee, J.E., and Lee, C.H. Importance of lactic acid bacteria in Asian fermented foods. Microbial Cell Factories, 2011, 10(1), p.p. 1-13.
De Roos, J., and De Vuyst, L. Acetic acid bacteria in fermented foods and beverages. Current opinion in biotechnology, 2018, 49, p.p. 115-119.
AOAC Official Method. Official Methods of Analysis of AOAC INTERNATIONAL. 18th Ed., AOAC INTERNATIONAL, Gaithersburg, MD. 2005.
จิราภรณ์ บุราคร และ เรือนแก้ว ประพฤติ. ผลของสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านไทยจำนวน 7 ชนิดต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 2555, 10, หน้า 11-22.
Bauer, A.W., Kirby, W.M.M., Sherris, J.C., and Turck, M. Antibiotic susceptibility testing by a standardized single disc method. The American Journal of Pathology, 1966, 49, p.p. 493-496.
Singh, J. and Tripathi, N.N. Inhibition of storage fungi of blackgram (Vigna mungo L.) by some essential oils. Flavour Fragrance Journal, 1999, 14, p.p. 1-4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.