การออกแบบและพัฒนาสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ ส่งเสริมการรับรู้การเดินเพื่อป้องกันการหกล้ม ในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ ส่งเสริมการรับรู้การเดินเพื่อป้องกันการหกล้มในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ ที่มีคุณภาพ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้สูงอายุต่อสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ ส่งเสริมการรับรู้การเดินเพื่อป้องกันการหกล้มในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหกล้มของผู้สูงอายุ เพื่อการออกแบบและพัฒนาสื่อและนวัตกรรม ที่มีเนื้อหาการเดินเพื่อป้องกันการหกล้มในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ ในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สมาชิกกลุ่มสุขกับเพลง ศูนย์ผู้สูงอายุโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีอาสาสมัคร ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 25 คน โดยมีการกำหนดเกณฑ์คัดเข้า ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ และกายภาพบำบัด จำนวน 3 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคแอนิเมชัน จำนวน 3 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหกล้มในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ 2) แบบประเมินคุณภาพแอนิเมชัน 3 มิติ ด้านเนื้อหาของสื่อ และด้านองค์ประกอบภาพเคลื่อนไหวในงานแอนิเมชัน 3 มิติ และ 3) แบบประเมินระดับการรับรู้ก่อนและหลังรับชมสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ ส่งเสริมการรับรู้การเดินเพื่อป้องกันการหกล้มในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-Test
ผลการวิจัย พบว่า
1) สื่อแอนิเมชัน 3 มิติ ส่งเสริมการรับรู้การเดินเพื่อป้องกันการหกล้มในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ ที่มีคุณภาพ ที่มีความยาว 17.10 นาที ขนาดภาพ 1280 x 720 พิกเซลที่ผ่านการหาระดับคุณภาพด้านเนื้อหาของสื่อ อยู่ในระดับ มากที่สุด และผ่านการหาระดับคุณภาพด้านองค์ประกอบภาพเคลื่อนไหวในงานแอนิเมชัน 3 มิติ อยู่ในระดับ มากที่สุด
2) หลังรับชมสื่อมีระดับการรับรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า หลังจากรับชมสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ ส่งเสริมการรับรู้การเดินเพื่อป้องกันการหกล้มในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า จากการรับชมสื่อทำให้ผู้สูงอายุมีระดับการรับรู้สูงขึ้นจริง
3) ได้ผลสรุปหัวข้อการศึกษาปัจจัยเกี่ยวข้องกับการหกล้มของผู้สูงอายุ เพื่อการออกแบบและพัฒนาสื่อและนวัตกรรม ที่มีเนื้อหาการเดินเพื่อป้องกันการหกล้มในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ แอนิเมชัน 3 มิติ การหกล้มในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ เวชศาสตร์ฟื้นฟู กายภาพบำบัด
References
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. หกล้มในผู้สูงอายุ อันตรายกว่าวัยอื่นหลายเท่าตัว ปัญหาที่ต้องระวัง, 2561, สืบค้นจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article
จิตติมา บุญเกิด, และไตรรัตน์ จารุทัศน์. การดูแลผู้สูงอายุที่หกล้มบ่อยในเวชศาสตร์ครอบครัว. รามาธิบดีเวชสาร, 2555, 35(2), หน้า 150-158.
จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี. หกล้มในผู้สูงอายุ อันตรายกว่าวัยอื่นหลายเท่าตัว ปัญหาที่ต้องระวัง, 2561. สืบค้นจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/หกล้ม
ทิพย์รัตน์ ผลอินทร์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, และวิราพรรณ วิโรจน์รัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ความกลัวการหกล้ม และพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562, 29(1), หน้า 36-50.
ธามม วงศ์สรรคกร, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, และอัครมณี สมใจ. การรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2566, 6(1), หน้า 168-179.
นงนุช วรไธสง. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหกล้มในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยุ่ในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นงลักษณ์ พรมมาพงษ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิพา ศรีช้าง, และลวิตรา ก๋าวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564, 2559 สืบค้นจากhttp://www.thaincd.com/2016/mission/documents -detail.php?id=12095&tid=&gid=1-027
นิพนธ์ คุณารักษณ์. (2556). การออกแบบบุคลิกลักษณะเพื่อผลิตภาพยนต์แอนิเมชั่น ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ด้วยทฤษฎีสัญศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต, คณะศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภัทร์ ปัญญวานันท์. การออกแบบโมเดลตัวละคร และการสร้างสรรค์งานแอนิเมชัน 3 มิติ. วารสารนักบริหาร, 2562, 39(1), หน้า 67-81.
ฟิสิกส์ ฌอน บัวกนก, และเกษตร วงศ์อุปราช. การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จากการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตชานเมือง เทศบาลเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 2560, 10(4), หน้า 108-120.
ภควลักษช์ เพสอุน, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, และนิรัตน์ อิมามี. การพัฒนาสื่อแอนิเมชั่นเรื่อง การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ ในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 2560, 47(3), หน้า 315-325.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563, 2562. สืบค้นจาก https://thaitgri.org/?p=39772
เยาวลักษณ์ คุมขวัญ, อภิรดี คำเงิน, อุษณีย์ วรรณลัย, และนิพร ขัดตา. แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บ้านในผู้สูงอายุ:บริบทของประเทศไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2561, 3(2), 10-22.
ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์, และญาศิณี เคารพธรรม. สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, 11(2), หน้า 367-387.
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการส่งเสริมการมีงานทำที่มีคุณค่าสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสังคมสำหรับคนทุกวัยในประเทศอาเซียนบวกสามระหว่างและภายหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.(COVID-19),2564, สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1635741067-974_0.pdf
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2562
สุทธิดา พงษ์พันธ์งาม, อัมภิชา นาไวย. การหกล้ม ความกลัวการหกล้ม และการจำกัดกิจกรรมเนื่องจากกลัวหกล้ม ในผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชนชานเมืองเชียงใหม่. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 2563, 36(1), หน้า 22-38.
หฤทัย กงมหา, กรรณิการ์ หาญสูงเนิน, วิไลพร รังควัต, และประทุ่ม กงมหา. การพัฒนารูปแบบส่งเสริมพฤฒพลังในผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม, (ฉบับพิเศษการประชุมพยาบาลครั้งที่ 25), 2561, หน้า 54-61.
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลท่าแค จังหวัดลพบุรี. วารสารร่มพฤษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 2561, 36(3), หน้า 46-65.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.