การเปรียบเทียบจำนวนแบคทีเรียรวมที่พบในตัวอย่างน้ำเมื่อใช้ขวดเก็บตัวอย่างต่างๆกัน
คำสำคัญ:
จำนวนแบคทีเรียรวม, เทคนิคการปลอดเชื้อ, วิธีเทเพลทบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นผลการตรวจจำนวนนับแบคทีเรียรวมโดยใช้ภาชนะในการเก็บต่างกันคือขวดแก้วปากกว้างที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ขวดแก้วปากแคบที่ผ่านการฆ่าเชื้อและขวดบรรจุน้ำดื่มที่ขายตามร้านสะดวกซื้อ โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ด้วยวิธีปลอดเชื้อจำนวน 30 ตัวอย่าง ได้ผลค่าเฉลี่ยของจำนวนแบคทีเรียรวมในขวดแก้วปากกว้างที่ผ่านการฆ่าเชื้อเท่ากับ 369.77 cfu/ml และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 471.73 ค่าเฉลี่ยของจำนวนแบคทีเรียรวมในขวดแก้วปากแคบที่ผ่านการฆ่าเชื้อเท่ากับ 370.07 cfu/ml และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 471.77 ค่าเฉลี่ยของจำนวนแบคทีเรียรวมในขวดน้ำดื่มที่ขายตามร้านสะดวกซื้อเท่ากับ 370.67 cfu/ml และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 471.76 โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างที่เก็บในขวดแก้วปากกว้างที่ผ่านการฆ่าเชื้อและในน้ำที่เก็บในขวดแก้วปากแคบที่ผ่านการฆ่าเชื้อ (p-value=0.9996) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างที่เก็บในขวดแก้วปากกว้างที่ผ่านการฆ่าเชื้อและในน้ำที่เก็บในขวดน้ำดื่มที่ขายตามร้านสะดวกซื้อ (p-value=0.9998) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างที่เก็บในขวดแก้วปากแคบที่ผ่านการฆ่าเชื้อและในน้ำที่เก็บในขวดน้ำดื่มที่ขายตามร้านสะดวกซื้อ (p-value=0.9999) ทั้งนี้ค่ามัธยฐานของจำนวนแบคทีเรียรวมในน้ำที่เก็บในขวดเก็บน้ำทั้ง 3 ชนิด ไม่มีความแตกต่างกัน (p-value=0.9937) จากผลการศึกษากล่าวได้ว่าสามารถใช้ขวด 3 ชนิดนี้ทดแทนกันได้ในการเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจหาจำนวนแบคทีเรียรวม สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเก็บตัวอย่างน้ำที่เหมาะสม ได้ผลตรวจที่ถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือและลดข้อจำกัดในการจัดหาขวดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อพัฒนางานตรวจคุณภาพน้ำของหน่วยชันสูตรโรคสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี
References
ธีรพล กงบังเกิด. (2546). จุลชีววิทยาอาหาร. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
พรศิริ ตั้งใจพัฒนา. (2546). คู่มือระเบียบการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานตามมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร สำหรับสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม P-PIG-VET-001. สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์. กรุงเทพ.
กรมอนามัย. (2563). คู่มือการสุ่มเก็บ การบรรจุและการเก็บรักษาสภาพตัวอย่างน้ำประปาดื่มได้. ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://rldc.anamai.moph.go.th
กองมาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาล. เทคนิคและวิธีการเก็บตัวอย่างน้ำ. สืบค้น 25 มกราคม 2566, จาก http://www.dgr.go.th/skr/th/newsAll/243/3155
เรณู ปิ่นทอง. (2543). คู่มือบทปฏิบัติการจุลินทรีย์ในอาหาร. ภาควิชาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
สุมาลี เหลืองสกุล. (2540). คู่มือปฎิบัติการจุลชีววิทยาทางอาหาร. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ.
นฤมล มาแทน. (2560). ปฏิบัติการจุลชีววิทยาอาหาร. สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. นครศรีธรรมราช.
ISO 4833. (1991). Microbiology-general guidance for the enumeration of micro-organisms-Colony count technique at 30oC.
Kubwabo, C., Kosarac, I., Stewart, B., Gauthier, B. R., Lalonde K. and P. J. Lalonde. (2009). Migration of bisphenol a from plastic baby bottles, baby bottle liners and reusable polycarbonate drinking bottles. Food Additives & Contaminants: Part A, 26(6), 928–937.
Gautam, B., Gyanwali, G. and D. W. Ussery. (2021). Assessment of bacteria load in polyethylene terephthalate (PET) bottled water marketed in Kathmandu valley, Nepal. Hindawi International Journal of Polymer Science, 2021:10 pages.
Halag, A. A., Ssemugabo, C. and D. K. Ssemwanga. (2015). Bacteriological and physical quality of locally packaged drinking water in Kampala, Uganda. Journal of Environmental and Public Health. vol 2015: 6 pages.
Timilshina, M., Dahal, I. and B. Thapa. (2013). Microbial assessment of bottled drinking water of Kathmandu valley. International Journal of Infection and Microbiology, 1(2), 84–86.
Da Silva, M. E. Z., Santana, R. G. and M. Guilhermetti. (2008). Comparison of the bacteriological quality of tap water and bottled mineral water. International journal of hygiene and environmental health, 211(5-6), 504–509.
Bashir, A. and A. M. Aish. (2011). Bacteriological quality evaluation of bottled water sold in the Gaza strip, Palestine. International Water Technology Conference. 16th
Bower, C.K., McGuire, J. and M. Daeschel. (1996). The adhesion and detachment of bacteria and spores on food-contact surfaces. Trends Food Science Technology, 7(5), 152–157.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.