การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับโซ่อุปทานและโซ่คุณค่าในชุมชนท้องถิ่น

Main Article Content

นุชจรี ภักดีจอหอ
สุจิตรา จำปาศรี

บทคัดย่อ

การสังเคราะห์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะและนำเสนอตัวแบบการวิจัยด้านโซ่อุปทานและโซ่คุณค่าในชุมชนท้องถิ่นจากบทความในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพสังเคราะห์ 4 ประเด็น คือ ขอบเขตของโซ่อุปทาน ประเภทกิจกรรมของธุรกิจชุมชน แนวคิดทฤษฏี และวิธีการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาโซ่อุปทานและโซ่คุณค่าในชุมชนท้องถิ่น 155 บทความ เผยแพร่ระหว่างปี 2551 – 2565 ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีขอบเขตต้นน้ำของโซ่อุปทานและประเภทกิจกรรมการเกษตร มีการวิเคราะห์เครือข่ายโซ่อุปทานเป็นหลัก และประยุกต์ใช้ 2 แนวคิดทฤษฎีในการศึกษา ข้อค้นพบนำไปสู่ตัวแบบการวิจัยด้านโซ่อุปทานและโซ่คุณค่าในบริบทชุมชนท้องถิ่น 2 ส่วนประกอบ คือ ศึกษาบริบทเครือข่ายโซ่อุปทาน และการวิเคราะห์ประเด็นทางธุรกิจในชุมชนท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2565, 14, สิงหาคม). รายงานข้อมูลสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566, จาก https://www.moac.go.th/site-home

กัลยา สว่างคง และเพ็ญพิสุทธิ์ สีกาแก้ว. (2565). การสังเคราะห์บทความวิจัยด้านภาษาจีนและการท่องเที่ยวในฐานข้อมูล ThaiJo. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 5(6): 205-218.

จำเนียร จวงตระกูล และนวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. (2562). การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย. 2(2): 1-14.

จินตนา กาญจนวิสุทธิ์. (2563). ธุรกิจชุมชน: เส้นทางการพัฒนาอาชีพ และการวิจัยในชุมชน. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ไชยยศ ไชยมั่นคง และ มยุขพันธ์ ไชยมั่นคง. (2557). การจัดการซัพพลายเชนและช่องทางการตลาด. กรุงเทพฯ: วิชั่น พรีเพรส.

ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร. 34(1): 177-191.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ป.

นิติบดี ศุขเจริญ และวัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล. (2557). การวิเคราะห์อภิมาน และการสังเคราะห์อภิมาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8(3): 43-55.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2551). คิดกลยุทธ์ด้วย SWOT. พิมพ์ครั้งที่ 7 (ปรับปรุงครั้งที่ 2). อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์. (2560). กลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์และการพัฒนาบุคลากร. วารสารวิชาการ RMUTT Global Business and Economics Review. 12(1): 89-98.

วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: การวิจัยเพื่อเสรีภาพและการสรรค์สร้าง. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2553). โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิส ติกส์ของสินค้าเกษตร. รายงานการวิจัย.

สัญญา เคณาภูมิ. (2562). หลักการและแนวทางการสังเคราะห์งานวิชาการ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 3(2): 89-106.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566, จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/06/NS_PlanOct2018.pdf

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (ม.ป.ป.). วิสาหกิจชุมชนน่ารู้. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2566, จาก http://www.sceb.doae.go.th/Ssceb2.htm

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2566). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566. https://dictionary.orst.go.th/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566, 17, กุมภาพันธ์). เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2565 และแนวโน้มปี 2566. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13581

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2565. ค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2566, จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/03/NS-Book-for-Web_final_210366.pdf

สุวรรณา ประณีตวตกุล และคณะ. (2565). การสังเคราะห์งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านไม้ผลของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 39(1): 163-185.

Anderson, W. (2018). Linkages between tourism and agriculture for inclusive development in Tanzania: A value chain perspective. Journal of Hospitality and Tourism Insights. 1(2): 168-184.

Barua, P., Rahman, S.H. and Barua, M. (2021). Sustainable management of agriculture products value chain in responses to climate change for South-Eastern coast of Bangladesh. Modern Supply Chain Research and Applications. 3(2): 98-126.

Bozarth, C. C, and Handfield, R. B. (2016). Introduction to Operations and Supply Chain Management. 4th Edition. Malaysia: Pearson.

Chopra, S. (2019). Supply Chain Management: Strategy, Planning, and Operation. 7th Edition New Jersey: Pearson.

Heizer, J., Render, B. and Munson, C. (2017). Principles of Operations Management Sustainability and Supply Chain Management. 10th Edition. Malaysia: Pearson.

Hsieh H-F. and Shannon S.E. (2005). Three Approaches to Qualitative Content Analysis. Qualitative Health Research. 15(9): 1277-1288.

Jakkrit, C., and Dachanee, E. (2018). Analyzing Research Gap on Community Based Tourism in Thailand. Damrong Journal of the Faculty of Archaeology Silpakorn University. 17(1): 175-204.

Kotler, P. and Armstrong, G. (2017). Principles of Marketing 17th Edition. Pearson.

Phukrongpet, P., Daovisan, H. and Satsanasupint, P. (2022). What drives an innovative behaviour of sustainable community-based enterprises? Insights from a qualitative case study. International Journal of Innovation Science. 14(1): 79-96.

Porter, M. E. (1985). The Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: Free Press.

Supply Chain Council. (2012). Supply Chain Operations Reference Model Revision 11.0. United States of America.