การพัฒนาเกณฑ์ปริมาณขยะเพื่อการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์สีเขียว

Main Article Content

Priyanuch Mekchay
Kullapa Soratana

บทคัดย่อ

การพัฒนาเกณฑ์ปริมาณขยะสำหรับการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์สีเขียว สอดคล้องกับกระแสการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ดำเนินการโดยใช้แนวคิดการประเมินตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (
Life Cycle Assessment: LCA)
เพื่อให้ทราบถึงปริมาณขยะ ที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบการการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์ ได้แก่ ลานกางเต็นท์ ห้องส้วม/ห้องน้ำ พื้นที่ซักล้าง และห้องครัว โดยเก็บข้อมูลจากสถานประกอบการ 4 แห่ง ในชุมชนบ้านดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของพื้นที่ ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์ มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 1.25 กิโลกรัมต่อคน จากขยะ 4 ประเภทที่ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ ประเภทขยะที่มีปริมาณมากที่สุด ได้แก่ ขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เท่ากับ 0.58 กิโลกรัมต่อคน โดยน้ำหนักขวดแก้ว คิดเป็นร้อยละ 77 ของน้ำหนักขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด ประเภทขยะที่มีปริมาณมากรองลงมา คือ ขยะทั่วไป เท่ากับ 0.46 กิโลกรัมต่อคน ขยะอินทรีย์ เท่ากับ 0.20 กิโลกรัมต่อคน และขยะอันตราย เท่ากับ 0.01 กิโลกรัมต่อคน ข้อมูลปริมาณขยะจากผู้ประกอบการที่ก่อให้เกิดขยะน้อยที่สุด สามารถนำไปใช้ในการจัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อลดปริมาณขยะ นอกจากนี้ ข้อมูลปริมาณขยะต่อคนร่วมกับข้อมูลช่วงปริมาณขยะที่รวบรวมได้ ควรนำไปใช้ในกระบวนการทำความตกลงร่วมกับผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ก่อนนำไปใช้ประกอบการกำหนดเกณฑ์ปริมาณขยะเพื่อการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์สีเขียว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). มาตฐานการท่องเที่ยวไทย มาตรฐานการจัดกิจกรรม.

สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). มาตฐานการท่องเที่ยวไทย มาตรฐานการจัดกิจกรรม.

องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี. (2564). จำนวนผู้ประกอบการที่พักในพื้นที่บ้านดอยช้าง. องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี: ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565. https://wawee.go.th/index.php?page=main&id=8

International Organization for Standardization: ISO 14040. (2006). Environmental Management-Life Cycle Assessment-Principles and Framework.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, ม.ป.ป. (2564) แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561-2564.

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). รายงานผลการจัดทำแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวสีเขียว. โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism). กรุงเทพฯ.