วิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานกระบวนการการเลี้ยงไก่เนื้อ โดยใช้ตัวแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทานในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

พิทธินันท์ สมไชยวงค์
เสาวลักษณ์ อินทร์เย็น
โนรีน่า ปาละมะ
กนิษฐา วงค์ต่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการการเลี้ยงไก่เนื้อในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 2) วิเคราะห์โซ่อุปทานกระบวนการการเลี้ยงไก่เนื้อโดยใช้ตัวแบบอ้างอิงการดำเนินงานในโซ่อุปทาน 3) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกระบวนการการเลี้ยงไก่เนื้อในโซ่อุปทานในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัยเพื่อมุ่งเน้นประโยชน์โดยรวมแก่เกษตรกร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อที่ขึ้นทะเบียนกับสหกรณ์การเกษตรอำเภอพาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการการเลี้ยงไก่ของเกษตรกรในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างโรงเรือนไก่ จัดซื้อจัดหา จัดเตรียมโรงเรือนไก่เนื้อ และการจัดการไก่เนื้อ 2) ผลการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน SCOR Model ระดับ 1 มีการระบุขอบเขตและเนื้อหาของห่วงโซ่อุปทานที่ครอบคลุมการดำเนินงานแต่ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันรวมถึงโครงสร้างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการที่ยังไม่สอดคล้องกัน ในส่วนของ SCOR Model ระดับ 2 พิจารณาจากการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ยังพบปัญหาในการดำเนินงานในส่วนของการบันทึกข้อมูลและการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า จึงทำให้เกษตรกรต้องผลิตไก่เนื้อแบบทำตามคำสั่งซื้อ เพื่อป้องกันคำสั่งซื้อที่ไม่แน่นอน ทั้งนี้ได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการเลี้ยงไก่เนื้อโดยการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนการเลี้ยง รวมถึงส่งเสริมการรวมกลุ่มระหว่างเกษตร ผู้ซื้อ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่เนื้อให้ได้ตามมาตรฐานและคุณภาพที่ต้องการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพัชร กอประเสริฐ, นิตยา งามยิ่งยง, กมลทิพย์ ทับทิม, ศศิตา ชาวนาตรี และ จุฑารัตน์ เพื่อมเสม. (2566). การจัดการโซ่อุปทานธุรกิจฟาร์มไก่เนื้อในจังหวัดกาญจนบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 15(1): 1812-1821.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทย 2565. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567. https://ict.dld.go.th/webnew/images/stories/stat_web/yearly/2565/province/T6-1-Chick.pdf

กฤติกา จินาชาญ, ภูเด่น แก้วภิบาล และ เย็นจิต นาคพุ่ม. (2562). ประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์การเลี้ยงเป็ดไข่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 27-28 มีนาคม 2562. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช, 2-6.

กาญจนา ทองอินทา. (2556). การจัดการโซ่อุปทาน. ค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2567. https://shorturl.asia/Vadi7

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานในโซ่อุปทาน SCOR model. ค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2567. https://www.iok2u.com/article/logistics-supply-chain/s-scor-model

ชนม์ณัฐชา กังวานศุภพันธ์. (2562). การวิเคราะห์และประเมินองค์ประกอบการจัดการโซ่อุปทานของผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มจิ่งหรีด: กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยวิธีตัวแบบอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน (SCOR). สุรินทร์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

โชติรส นพพลกรัง, ทิพย์สุดา กุมผัน, ณัฐกร โต๊ะสิงห์, รุ่งรดิศ สมทอง, ศิริพงษ์ หอมแขก, กริชนันท์ เจริญพันธ์และ อนงค์นารถ ชัยทอง. (2566). การศึกษาการจัดการโซ่อุปทานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิ 105 บ้านยาง โดยใช้ตัวแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 3(1): 22-32.

ธนาภรณ์ สมานทอง. (2561). การจัดการโซ่อุปทานผ้าไหมทอมือในจังหวัดสุรินทร์เพื่อยกระดับให้เป็นสินค้า. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มณฑิรา พรมดี, ฉัตรชัย สุตีกษณะ, เอกชัย คุปตาวาทิน, และ สานิตย์ ปัตตะเน. (2565). การศึกษาแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน (SCOR Model) กรณีศึกษา ผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มจิ้งหรีดชุมชนบ้านแสนตอ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 8(2). 26-65.

วัลลภ คงเพิ่มพูน. (2545). การเลี้ยงไก่เนื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 4. เกษตรสาส์น: เกษตรสาส์นนนทบุรี.

สาวิตรีรัตนะ และวรรณวิชณีย์ ทองอินทราช. (2564). การจัดการโซ่อุปทานผลผลิตทุเรียนอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณทิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพาน. (2566). รายงานจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่และไก่ปี 2566. กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). สถานการณ์สินค้าการเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2566. ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2567 https://www.opsmoac.go.th/chiangrai-dwl-files-442991791980

สุวภัทร รักเสรี. (2552). การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการด้านห่วงโซ่อุปทานของโรงงานอาหารสัตว์. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวิทย์ โชตินันท์, สุรเชษฐ์ ปิ่นทิพย์, สมบัติ ศุภประภากร และ นพวรรณ สุทธิหลวง. (2562). การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำและระบบโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษา “น่านโมเดล”. รายงานฉบับสมบูรณ์ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา. (2561). ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) คืออะไร ฉบับอธิบายเข้าใจง่าย. ค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2567. https://ourpoint.co/posts/blogs/supply-chain.

อุบลรัตน์ แจ้งเจริญ. (2554). การจัดการห่วงโซ่อุปทาน. การจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรกล้วยไม้ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. 10(2): 1-16.

Ricardianto, P., Barata, F.A., Mardiyani, S., Setiawan, E.B., Subagyo, H., Saribanon, E., & Endri, E. (2022). Supply chain management evaluation in the oil and industry natural gas using SCOR model. Uncertain Supply Chain Management, 10(3): 797-806.