การวิเคราะห์เส้นทางการขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการขนส่งผลไม้ ภายในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

มาลัย โพธิพันธ์
ศรีวารี สุจริตชัย
พูลศิริ ประคองภักดิ์

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์เส้นทางการขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการขนส่งผลไม้ภายในจังหวัดจันทบุรีมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาการกระจายตัวของแหล่งผลิตและแหล่งซื้อขายไม้ผลในจังหวัดจันทบุรี เพื่อคำนวณหาต้นทุนการขนส่งผลไม้และเพื่อเสนอแนะเส้นทางขนส่งผลไม้ภายจังหวัดจันทบุรี  การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรในการวิจัยคือเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนและมังคุดในจังหวัดจันทบุรี ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 393 ราย เพื่อเก็บข้อมูลการผลิตและการขนส่งผลผลิตไปขายที่ตลาดกลางท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ปลูกผลไม้แบบสวนผสม แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในพื้นที่อำเภอขลุง ท่าใหม่ มะขามและเขาคิชฌกูฏ  ตลาดกลางท้องถิ่นที่มีการซื้อขายทุเรียนและมังคุดมากที่สุดคือตลาดเนินสูงและตลาดหนองคล้า ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ และตลาดกลางอื่นๆ ในอำเภอเมือง ขลุง มะขามและนายายอาม เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้รถกระบะตอนเดียวในการขนส่งผลผลิตเนื่องจากสามารถบรรทุกผลผลิตต่อเที่ยวได้ปริมาณมากที่สุด สัดส่วนของต้นทุนการขนส่งที่สูงที่สุดคือค่าเสื่อมราคาของรถยนต์และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อมูลต้นทุนการขนส่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกเส้นทางการขนส่งไปยังตลาดกลาง  และผลการวิจัยได้เสนอเส้นทางการขนส่งที่เหมาะสมโดยพิจารณาเส้นทางที่มีต้นทุนค่าขนส่งต่ำที่สุด และเสนอเส้นทางที่เป็นเส้นทางสายรอง ที่มีต้นทุนการขนส่งไม่แตกต่างกันมากนัก นอกจากปัจจัยด้านต้นทุนการขนส่งเกษตรกรยังพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วยในการเลือกเส้นทางหรือตลาดกลาง ที่จะขนผลไม้ไปขาย เช่น จำนวนคนกลางที่รับซื้อ ราคาตลาดในช่วงซื้อขาย ความสัมพันธ์ของผู้ซื้อผู้ขาย การเจรจาซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). รายงานการส่งเสริมการเกษตรจังหวัดจันทบุรี. กรมส่งเสริมการเกษตร.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก. กรมส่งเสริมการเกษตร.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2560). ต้นทุนการขนส่งและผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิชาการ.

ชนินทร์ ศรีศุภนิมิต. (2559). การบริหารจัดการโลจิสติกส์ในภาคการเกษตร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนพล มโนวัฒน์ (2563). การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรลภัส บุตรดี. (2558). การศึกษาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ โดยการขนส่งทางรถยนต์ กรณีศึกษา ปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และทุเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทรพล นครวัฒน์, และศักดิ์สิทธิ์ ประเสริฐชัย. (2562). การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ปลูกทุเรียนในเขตภาคตะวันออก. วารสารการพัฒนาพื้นที่, 8(1), 35-50.

วรรณพร ศรีเจริญ, และคณะ. (2563). การกระจายตัวของพื้นที่ปลูกมังคุดในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารวิจัยพืชเศรษฐกิจ, 7(3), 100-115.

วัฒนชัย มงคลกิจ, และคณะ. (2560). การจัดการพื้นที่การเกษตรในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(4), 75-88.

วิลาสินี เป้าน้อย. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ระบบขนส่งสินค้าเกษตรแปรรูป ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วิเชียร วงศ์เจริญสุข และ คณะ (2561). โลจิสติกส์การเกษตรและการขนส่ง. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมชาย ชาวเกษตร, วรรณา ใจดี, และปรีชา ศรีสุวรรณ. (2560). การศึกษาต้นทุนและความคุ้มค่าในการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรในจังหวัดจันทบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์และการเกษตร, 4(1), 45-60.

สมชาย เลิศวัฒนศิลป์. (2560). การบริหารต้นทุนในระบบเกษตรกรรายย่อย: กรณีศึกษาเกษตรกรในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารการจัดการการเกษตร, 7(2), 45-60.

สมบูรณ์ กิจสวัสดิ์, และคณะ. (2561). การศึกษาการปลูกทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี. วารสารการเกษตรและเทคโนโลยี, 5(2), 45-60.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์และการขนส่ง. สืบค้นจาก https://www. fti.or.th สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2567). ต้นทุนโลจิสติกส์สินค้าข้าว ต่อยอดขายของเกษตรกร. สืบค้นจาก https://www.oae.go.th/

สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี. (2565). การขนส่งผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี. สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี.

สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี. (2565). การพัฒนาระบบการขนส่งผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี. สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี.

Chopra, S., & Meindl, P. (2019). Supply chain management: Strategy, planning, and operation (7th ed.). Pearson.

Christopher, M. (2016). Logistics and Supply Chain Management. Pearson Education.

Coyle, J. J., Langley, C. J., Novack, R. A., & Gibson, B. J. (2017). Supply Chain Management: A Logistics Perspective. Cengage Learning.

Jaffee, S., Siegel, P., & Andrews, C. (2010). Agricultural logistics in developing countries: Supply chains, infrastructure, and institutions. World Bank.