การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ในการใช้บริการโรงอาหารของมหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

เจษฎา โพธิ์จันทร์
ณัฐธิดา วงศาฟู
ปฏิพัทธ์ ม่วงรักษา
สุพัตรา ประดิษนุช
ณัฐชยา ปันชุม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการใช้บริการโรงอาหารของมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยวิธีดำเนินการได้ประยุกต์ใช้วิธีการเปรียบเทียบเชิงคู่และการวิเคราะห์ลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ เพื่อประเมินหาค่าถ่วงน้ำหนักในการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย ซึ่งในกระบวนการมีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 8 คน จาก 4 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มบุคลากรสายวิชาการ กลุ่มบุคลากรสายวิชาสนับสนุน กลุ่มนักศึกษาปริญญาตรี และกลุ่มนักศึกษาบัณฑิตศึกษา เพื่อประเมินหาค่าถ่วงน้ำหนักของปัจจัยที่เหมาะสม ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการใช้บริการโรงอาหารของมหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบด้วย 12 ปัจจัย ได้แก่ เวลาและความสะดวก รายได้ ประสบการณ์และความคุ้นเคย ช่วงเวลาในการบริการ ความรวดเร็ว ขั้นตอนการซื้อหรือการรับอาหาร ความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวก ความสะอาดบริเวณสถานที่ บรรยากาศโล่ง/โปร่ง รสชาติ ความหลากหลาย (ประเภทอาหาร) และวัตถุดิบในการทำอาหาร ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ประสบการณ์และความคุ้นเคย (19.32%) รองลงมาคือ ความรวดเร็ว (15.13%) และ ขั้นตอนการซื้อหรือการรับอาหาร (14.61%) ตามลำดับ ซึ่งผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับการปรับปรุงและการพัฒนาในด้านต่างๆ ตามลำดับความสำคัญ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการโรงอาหารของมหาวิทยาลัยนเรศวรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมพัฒนาธุรกิจ. (2562). กลยุทธ์ในการแข่งขันของร้านอาหาร. สืบค้น 12 กันยายน 2565 จาก https://www.dbd.go.th/.

กรวรรณ อุดทสรรพ์ และจุฑาทิพย์ เดชยางกูร. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารพร้อมทานของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร.โครงการพิเศษ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้น 8 กันยายน 2565 จาก http://www.vl-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-2-1_1612446255.pdf.

ธรรมศักดิ์ สาวแก้ว และคณะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีที่ 1ฉบับที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. สืบค้น 15 กันยายน 2565 จาก https://li01.tcithaijo.org/index.php/STJS/article/

/171642.

มงกุฎการ เจริญรอย. (2553). พฤตกรรมการเลือกซื้ออาหารของประชาชนในเขตเทศบาลนคร อุบลราชธานี. วิทยานิพนธสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ราช ศิริวัฒน์. (2560). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. มปป. สืบค้น 7 กันยายน 2565 จากhttp://www.hu.ac.th/conference/conference2019/proceedings2019/FullText.

Benyoucef, L., Ding, H., & Xie, X. (2003). Supplier selection problem: selection criteria and methods. Unite de recherche INRIA Lorraine, Nancy Cedex.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. Sydney: Hodder Education.

Drake, P.R. (1998). Using the analytic hierarchy process in engineering education. Int. J. Engng Ed, 14, 191-196.

Ghodsypour, S.H., & O’Brien, C. (1998). A decision support system for supplier selection using an integrated analytic hierarchy process and linear programming. International Journal of Production Economics, 56-57, 199-212.

Goodman, L.A. (1961). Snowball Sampling. Annals of Mathematical Statistics, 32(1), 148-170.

Ho, W., Bennett, D.J., Mak, K.L., Chuah, K.B., Lee, C.K.M., & Hall, M.J. (2009). Strategic Logistics Outsourcing: An Integrated QFD and AHP Approach. Industrial Engineering and Engineering Management, 1434-1438

Jackson, E.L. (1986). Outdoor recreation participation and attitudes to the environment. Leisure Studies, 5, 1-23.

Pohekar, S.D., & Ramachandran, M. (2004). Application of multi-criteria decision making to sustainable energy planning-A review. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 8, 365-381.

Saaty, T.L. (1994). How to make a decision: The analytic hierarchy process. Interfaces, 24, 18-43.

Saaty, T.L. (2008). Decision making with the analytic hierarchy process. International Journal of Services Sciences, 1, 83-98.

SCB. (2019). Annual Report 2019. Retrieved from https://www.scb.co.th/content/dam

/scb/investor-relations/documents/financial-information/en/2019/annual-report/annual-report-eng-2019.pdf?value=insurance.

Techsauce Team. (2019). คนไทยเลือกอาหารตามความชอบเป็นหลักส่วนราคาเป็นปัจจัยรั้งท้าย. Techsauce

Media. สืบค้น 14 ตุลาคม 2565 จาก https://techsauce.co/pr-news/research-eic-scb-food.

Thurstone, L. L. (1927). A law of comparative judgment. Psychological Review, 34, 273-286.

Vargas, L.G. (1990). An overview of the analytic hierarchy process and its application. European Journal of Operational Research, 48(1), 57-64.