การออกแบบแผนผังสายการผลิตกุนเชียงแห่งใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด

Main Article Content

ณัฐวิชช์ รักษาวงศ์
ณิชกานต์ พุฒิไชยจรรยา
ณุดาภรณ์ คชชะ
พิษณุพงษ์ กรศรี
ภูริภัทร เหลืองอรุณ
พรพรหม รุ่งเรือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบแผนผังสายการผลิตการผลิตโรงงานกุนเชียงแห่งใหม่ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า กรณีศึกษาบริษัทกุนเชียงโดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นและนำเสนอรูปแบบสายการผลิตการผลิตที่มีประสิทธิภาพในด้านการผลิตสินค้าโดยได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวางผังโรงงานอย่างเป็นระบบ (Systematic Layout Planning: SLP) และ หลักการไคเซ็น (Kaizen) มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของผังทางเลือกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภายใต้หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice: GMP) และการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Points: HACCP) จากนั้นจึงทำการออกแบบแผนผัง 4 แผนผังที่มีการคำนึงถึงปัจจัยด้านต้นทุนที่ ต้องลงทุนเพิ่มเติม กำลังการผลิต ระยะทาง และระยะคืนทุน พบว่า แผนผังที่ 2 คือแผนผังที่เหมาะสมที่สุด มีต้นทุนที่ต้องลงทุนเพิ่มอยู่ ที่ 8,813,750 บาท ระยะทางรวม 177 เมตร กำลังการผลิต 4,400 กิโลกรัม/ชั่วโมง และระยะคืนทุน 2.57 ปี ซึ่งหลังจากนำหลักการไคเซ็นมาเพิ่มประสิทธิภาพทำให้สามารถลดระยะทางได้ 4 เมตร จาก 177 เมตร เป็น 173 เมตร คิดเป็นร้อยละ 2.26

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Muther, R., & Hales, L. (2015). Systematic Layout Planning (4th Edition). Management & Industrial Research Publications.

เกศรินทร์ อุดมเดช, ฐิรกานต์ สธนเสาวภาคย์ และสุกัญญา เรืองสุวรรณ. (2560). ไคเซ็น : Kaizen. เอกสารวิชาการ สาขาสถิติคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เจนจิรา สุขศรีสวัสดิ์ และ นพมาศ พรมมัจฉา. (2562). การออกแบบและจัดวางผังโรงงาน กรณีศึกษา โรงงานเฟอร์นิเจอร์. สารนิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กนกวรรณ ปิ่นอำคา, เจนนี่ เดือนแก้ว แซ่อือ, ชลธิชา ราชิวงศ์, เนตรนภา จันทร์หัวโทน, และ บุณฑริก แสงแก้ว. (2565). การออกแบบแผนผังภายในศูนย์กระจายสินค้าตามทฤษฎีการวางผังโรงงานอย่างเป็นระบบ (The Systematic Layout Planning Pattern: SLP) กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กมลพรรณ พยับ. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัด Layout กรณีศึกษา บริษัทพลาสติก AAA อันดัสตรี จำกัด. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยหอการการต้าไทย

กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2566). คู่มือการตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหาร ตาม หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตที่ดีบังคับใช้เป็นกฏหมาย. 1700 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก: กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

พจมาน เตียวัฒนรัฐติกาล, อุษณีษ์ คำพูล, และ สมบุญ เจริญวิไลศิริ. 2563. การออกแบบแผนผังทางเลือกสำหรับโรงงานแปรรูปผักและผลไม้. วารสารวิชาการศรีประทุม 16(4): 1-11.

พรเทพ เหลือทรัพย์สุข. (2551). ปรับปรุงกำรผลิตด้วยแนวคิดแบบลีน Improving production with Lean thinking. กรุงเทพฯ : อี.ไอ.สแควร์.

พิชญาภรณ์ เอกศิริ, & รัฐยา พรหมหิตาทร. (26-28 มิถุนายน 2562). การออกแบบและวางผังคลังสินค้าด้วยระบบ Systematic Layout Planning [เอกสารนำเสนอในที่ประชุม]. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 4 และ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 1, โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร.

รณภพ สุนทรโรหิต. (2556). การออกแบบโรงงาน (Plant Design) และการวางผังโรงงาน (Plant Layout) (Online). www.drauditor.com/default.asp?content=spagedetail&cid=9655, 10 กุมภาพันธ์ 2567.

ศิริลดา ศรีกอก. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กุนเชียงปลาลดไขมันโดยใช้แป้งกล้วยน้ำว้าและคาร์ราจีแนนเป็นสารทดแทนไขมัน. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 23(1), 459-470.

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. 2559. มาตรฐานระบบการผลิตตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย อาหาร (Online). www.masci.or.th/gmp-fda/, 22 มกราคม 2567.