ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในด้านการบริหารการจัดซื้อ ของกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในเขตพื้นที่สวนอุตสาหกรรมบางกะดี

Main Article Content

ฐิตาภรณ์ พุฒิสาร
วิศวะ อุนยะวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านนโยบาย ด้านกลยุทธ์และด้านเทคโนโลยี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านนโยบาย ด้านกลยุทธ์และด้านเทคโนโลยี 3) วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัจจัยด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านนโยบาย ด้านกลยุทธ์และด้านเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในด้านการบริหารการจัดซื้อ ของกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในเขตพื้นที่สวนอุตสาหกรรมบางกะดี เลือกเฉพาะกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในด้านการบริหารการจัดซื้อเฉพาะกลุ่มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในเขตพื้นที่สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ประเภทโรงงาน 06900-07300 เท่านั้น จำนวนทั้งหมด 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามแบปลายปิด ผลการวิจัยพบว่า 1) จากกการศึกษาระดับ ปัจจัยด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.23 ปัจจัยด้านบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.09 ปัจจัยด้านนโยบายมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.21 ปัจจัยด้านกลยุทธ์มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.24 และปัจจัยด้านเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.33 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านนโยบาย ด้านกลยุทธ์และด้านเทคโนโลยี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในด้านการบริหารการจัดซื้อ 3) วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบปกติ พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แสดงว่า ปัจจัยด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านนโยบาย ด้านกลยุทธ์และ



ด้านเทคโนโลยี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในด้านการบริหารการจัดซื้อ มีความสัมพันธ์กันในเชิงเส้นตรง เมื่อวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนพบว่า ด้านนโยบาย ด้านกลยุทธ์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในด้านการบริหารการจัดซื้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 9). ม.ป.ท.: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลิดา ทิพย์มงคล. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร กรณีศึกษาบริษัท ซุปเปอร์ วอเตอร์.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. (Doctoral dissertation, มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพค์ร้ังที่10. กรุงเทพฯ:บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ปดิวรัดา มีแสง. (2565). การศึกษาและปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อโดยแนวคิดลีน กรณีศึกษา บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสินค้าสายไฟ. คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปราณี ตันประยูร. (2537). การบริหารการผลิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

รัชฎาภรณ์ หงษ์ภักดี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการให้บริการแบบศูนย์บริหารราชการ ฉับไวใสสะอาด กรณีศึกษาสำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรธิดา รัตนโค้น. 2559. การประยุกต์ใช้แนวความคิดแบบลีนมาปรับปรุงกระบวนการทำงานของแผนกบัญชี กรณีศึกษาของ บริษัท เอ็มเอ็มทีเอช เอ็นจิ้น จำกัด จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์วิทยาลัย พาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วาสนา ทองเสี่ยน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มบริษัทพานาโซนิคในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2532). ปรัชญาและการพัฒนาการบริหารเอกสารชุดวิชาหลักการบริหารการศึกษา. เล่มที: 1 หน่วยที่: 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (2565). สถานการณ์ด้านการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทย.กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สิริวดี ชูเชิด. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์. (2565). ประสิทธิภาพตามแนวคิด 7s ของ McKinsey กรณีศึกษา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - เมษายน 2565

Brever, G. D., & Deleon, P. (1983). The foundation of policy analysis. Homewood’s, IL: Dorsey.

Diloktharasanan, S. (2015). Purchasing Strategy. (2nd Ed.). Bangkok: Samlada.

Henri Fayol. (1916). General and industrial management. London: Sir Isaac Pitman and Son.

Hopkins, Margaret M., O’Neil, Deborah A., & Bilimoria, Diana. (2006). Effective Leadership and Successful Career Advancement: Perspectives from Women in Health Care. Equal Opportunities International. 25(4), pp. 251-271.

Hunger, J. David, & Wheelen, Thomas L. 1995. Strategic Management. 5th ed. USA: Addison-Wesley Publishing Company.

Jeffrey L. Pressman & Aaron Wildavsky. (1973). Implementation. California: University of California Press.

Khaleel, M., Yusupov, Z., Ahmed, A. A., Alsharif, A., Alarga, A., & Imbayah, I. (2023). The effect of digital technologies on energy efficiency policy. International Journal of Electrical Engineering and Sustainability (IJEES), 1-8.

Leenders, M.R., Johnson, P.F. Flynn, A.E., & Fearon, H.E. (2006). Purchasing and Supply Management with 50 Supply Chain Cases (13th Ed.). Singapore: McGraw-Hill.

Mansfield, Y. (1983). Tourism toward a behavioral approach. Oxford: Peramon.

May, D.R., Gilson, R.L., & Harter, L.M. (2004). The psychological conditions of meaningfulness, safety, and availability and the engagement of the human spirit at work. Journal of Occupational Psychology, 77, 11-37.

Millet, J.D. (1954). Management in the Public Service. New York: McGraw Hill Book Company.

Milliman, J., Czapiewski, A.J., & Ferguson, J. (2003). Workplace Spirituality and Employee Work Attitudes: An Exploratory Empirical Assessment. Journal of Organizational Change Management, 16(4), 426-447.

Organ, D.W. (1987). Organizational Citizenship Behavior: The good soldier syndrome. Massachusetts: Health & Company. 8-13.

Weele, V. (2005). Purchasing Portfolio Models: A Critique and Update. The Journal of Supply Chain Management, 4, 19-28.