การบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมะม่วงน้ำดอกไม้ในจังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

Bussayamas Puymoorthy
Sripai sripanomwan

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของชุม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับเกษตรกร โดยใช้หลักการการบูรณาการการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้วัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทานของมะม่วงพันธุ์นํ้าดอกไม้ การจัดหาวัตถุดิบ พ่อค้าคนกลาง/ผู้รวบรวมผลผลิต ที่คัดเลือกมะม่วงพันธุ์นํ้าดอกไม้ ตามความต้องการของคำสั่งซื้อเพื่อให้มีการจัดส่งวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ การส่งสินค้าให้ตรงต่อเวลาและปลอดภัย 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของมะม่วงพันธุ์นํ้าดอกไม้ในจังหวัดสระแก้ว ดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการวิจัยเพื่อมุ่งเน้นประโยชน์โดยรวมแก่เกษตรกร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เกษตรกรผู้ปลูก ผู้ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ที่มีพื้นที่ปลูกและภูมิลำเนาอาศัยอยู่ใน จังหวัดสระแก้ว


จากผลการวิจัย พบว่า ปัจจุบันเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนจากห่วงโซ่อุปทานแบบดั่งเดิมไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เกษตรกรผู้ปลูกมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) จนรู้ถึงความต้องการของตลาด ไปสู่ผู้บริโภคภายในประเทศว่ามีความต้องการเท่าไหร่ แล้วกลับมาวางแผนการผลิตตามคำสั่งซื้อที่มีการวางแผนซื้อขายกันไว้ล่วงหน้า ความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทานของมะม่วงน้ำดอกไม้ คือผู้จัดหาวัตถุดิบ พ่อค้า/ผู้รับซื้อ ผู้คัดเลือกมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งให้กับโรงงานตามความต้องการของลูกค้า เพื่อให้การจัดส่งวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพการส่งสินค้าให้ตรงต่อเวลาและปลอดภัย ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทาน ด้านเงิน


ลงทุนในการผลิต (Input) ด้านแรงงานในพื้นที่หายาก ด้านการเปลี่ยนแปลงการปลูกแบบดั่งเดิมไปสู่ระบบใหม่ยังค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากพฤติกรรมของเกษตรกรที่ทำแบบเดิมยังคงยึดติดกับแบบเก่าอยู่ รูปแบบการสื่อสาร ช่องทางเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้จังหวัดสระแก้วประชาชนต้องการอยากรับรู้มากที่สุดคือการสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรือออนไลน์


จากผลการศึกษา พบว่า ศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว พบว่า อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย มีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงความสำคัญของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ร่วมทั่งมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้มาตรฐาน มีศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงเพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีสินค้าเกษตรอินทร์ที่มีศักยภาพสามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ด้านการบริการและการให้ประสบการณ์ที่มีคุณภาพแก่นักท่องเที่ยว พบว่า มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิถีชีวิตเกษตร วิถีชาวบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งการดำเนินงานคำนึงถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและมีการเผยแพร่ความรู้ให้กับนักท่องเที่ยว ในส่วนของศักยภาพทางการท่องเที่ยว พบว่า การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมีน้อย แต่มีจุดเด่นในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และด้านการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งเป็นแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เกิดความประทับใจ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นที่เด่นชัด คือ ขาดการร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขาดแคลนงบประมาณ เงินลงทุนในการดำเนินงาน และด้านการตลาดที่ยังไม่แข็งแรง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Agricultural Technology. (2018). Non Khewa Model Collaborative Farming Model Using Marketing Policy Leading to Production Policy. Retrieved November 15, 2018, from http:// www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_ 078663 [in Thai]

Department of Agricultural Extension. (2016). Department of Agricultural Extension Strategic Plan 2017-2021. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. [in Thai]

Thirapong, K. (2018). Collaborative Farming Policy with Thailand’s Agricultural Sector Context at Present. Economics National Academics Conference 2017, September 13, 2018. Academics Affair the Secretariat of the House of Representatives. Bangkok: amkhamhaeng University. [in Thai]

Russell S. Roberta and Bernard W. T. (2020). Operation Management: Creating Along Value the Supply Chain (7th ed.). Massachusetts: John Wiley and Sons.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์์, (2565). ยุทธศาสตร์์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่่งขััน หน้า 33-66 ใน: รายงานประจำปี 2565 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 2564. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรี.

คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2566). ทิศทางการขับเคลื่อนสินค้า เกษตร 5 คลัสเตอร์. ออนไลน์ https://www.eeco.or.th/web-upload/filecenter/eec- development-plan/action2.pdf. สืบค้นเมื่อ 19 ธ.ค.2566