ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสของสารสกัดหยาบใบกระท่อม
DOI:
https://doi.org/10.55164/jgrdi.v1i1.613คำสำคัญ:
กระท่อม, เบาหวาน, สารสกัดหยาบ, อะคาร์โบส, แอลฟากลูโคซิเดสบทคัดย่อ
พืชกระท่อม (Mitragyna speciosa Korth.) เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกง่ายที่พบได้ทั่วไปในท้องถิ่นของภาคใต้ อุดมไปด้วยสารกลุ่มอัลคาลอยด์และมีสารไมทราจินีนเป็นสารหลัก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารสกัดจากใบกระท่อมที่มีศักยภาพต่อการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสของโรคเบาหวาน วิธีการทดลองทำการสกัดกระท่อมด้วยตัวทำละลายสามชนิดได้แก่ ไดคลอโรมีเทน เอทธิลอะซีเตท และเมทานอล ผลการสกัดพบว่าได้สารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทน เอทธิลอะซีเตท และเมทานอล คิดเป็นผลผลิตร้อยละ 2.37 0.95 และ 8.18 ตามลำดับ จากนั้นทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสของส่วนสารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทน เอทธิลอะซีเตท และเมทานอล พบว่าสามารถยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 103.71 78.33 และ 66.72 µg/mL ตามลำดับ ซึ่งสารสกัดหยาบเมทานอลมีค่า IC50 ซึ่งใกล้เคียงกับสารมาตรฐานอะคาร์โบสซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 61.62 µg/mL ดังนั้นจากงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าสารสกัดหยาบเมทานอลจากใบพืชกระท่อมมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นยารักษาโรคเบาหวานต่อไป
References
Purintrapiban, J., Keawpradub, N., Kansenalak, S., Chittrakarn, S., Janchawee, B., & Sawangjaroen, K. (2011). Study on glucose transport in muscle cells by extracts from Mitragyna speciosa (Korth) and mitragynine. Natural Product Research, 25(15), 1379-1387.
Meesakul, P., Pyne, S. G., & Laphookhieo, S. (2020). Potent -glucosidase inhibitory activity of compounds isolated from the leaf extracts of Uvaria hamiltonii. Natural Product Research, 34(17), 2495-2499.
Suthiphasilp, V., Maneerat, W., Andersen, R. J., Phukhatmuen, P., Pyne, S. G., & Laphookhieo, S. (2019). Dasymaschalolactams A-E, aristolactams from a twig extract of Dasymaschalon dasymaschalum. Journal of Natural Products, 82(11), 3176-3180.
Chear, N. J., Leon, F., Sharma, A., Kanumuri, S. R. R., Zwolinski, G., Abboud, K. A., Singh, D., Restrepo, L. F., Patel, A., Hiranita. T., Ramanathan, S., Hampson, A. J., McCurdy, L. R., & McCurdy, C. R. (2021). Exploring the Chemistry of alkaloids from Malaysian Mitragyna speciosa (Kratom) and the role of oxindoles on human opioid receptors. Journal of Natural Products, 84(4), 1034-1043.
Phillipson, J. D., & Hemingway, S. R., Bisset, N. G., Houghton, P. J. & Shellard, E. J. (1974). Angustine and related alkaloids from species of Mitragyna, nauclea, uncarza, and Strychnos. Phytochemistry, 13, 973-978.
Carpenter, J. M., Criddle, C. A., Craig, H. K., Ali, Z., Zhang, Z., Khan, I. A., & Sufka, K. J. (2016). Comparative effects of Mitragyna speciosa extract, mitragynine, and opioid agonists on thermal nociception in rats. Fitoterapia, 109, 87-90.
Qurrat-ul-Ain, Ashiq, U., Jamal, R.A., Saleem, M., Mahroof-Tahir, M. (2017). Alpha-glucosidase and carbonic anhydrase inhibition studies of Pd(II)-hydrazide complexes. Arabian Journal of Chemistry, 10(4), 488–499.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.