เกี่ยวกับวารสาร

Focus and Scope (วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์)

           วารสารฯ มีวัตถุประสงค์ ที่รวบรวมและเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งครอบคลุมศาสตร์ทางเกษตรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Agricultural and Biological Science) เคมี (Chemistry) ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ (Physics and Astronomy) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือสหสาขาวิชา (Multidisciplinary) ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)

           วารสารบัณฑิตวิจัย พัฒนาและนวัต กรรม เป็นวารสารที่รวบรวมและเผยแพร่ตีพิมพ์บทความวิชาการที่ผ่านการกลั่นกรองจากคณะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่เกี่ยว ข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของบุคลากร นักวิจัยในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ จำนวน อย่างน้อย 3 ท่าน แบบ Double-Blind Peer Review


Types of articles (ประเภทของผลงานที่จะรับตีพิมพ์)

           สำหรับประเภทของผลงานทางวิชาการที่รับพิจารณาในการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม จำแนกประเภทของผลงานทางวิชาการ ดังนี้

  1. บทความวิจัย (Research Articles) สำหรับบทความวิจัยต้องผ่านการพิจารณาการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ พร้อมทั้งแนบเอกสารใบรับรองที่ได้รับการอนุมัติพร้อมกับบทความวิจัย
  2. บทความวิชาการ (Academic Articles) ครอบคลุมบทความวิชาการประเภทบทความวิชาการประเภท การวิเคราะห์อภิมาณ (Meta-Analysis) บทความวิชาการประเภทการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Evidence-Based Review และ Systematic Review) หรือการทบทวนวรรณกรรมทั่วไป (Narrative Articles)
  3. จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to Editor) บทความวิชาการประเภทแสดงความคิดสนับสนุนหรือโต้แย้งความคิดเห็นของนักวิจัย หรือการแสดงความคิดเห็นผ่านความรู้และประสบการณ์ในประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)

           ◆ ภาษาไทย
           ◆ ภาษาอังกฤษ


Publication Frequency (กำหนดออก)

           กำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ฉบับละ 5 – 8 บทความ
           ◆ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน
           ◆ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม


Publisher (เจ้าของวารสาร)

           สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ


Published Rate (อัตราค่าตีพิมพ์)

           จำนวน 2,000 บาท ต่อบทความ (เก็บเมื่อมีการตอบรับการตีพิมพ์)