การพัฒนาระบบติดตามดูแลนักเรียนที่มีประสิทธิภาพในการโดยสารรถรับ-ส่งประจำโรงเรียน โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และ RFID

ผู้แต่ง

  • เปรม อิงคเวชชากุล สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • จิรวดี โยยรัมย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • กิตติคุณ บุญเกตุ สาขาวิชาสถิติ และวิทยาการสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2023.13

คำสำคัญ:

ระบบตรวจสอบนักเรียน, รถโรงเรียน, อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, เทคโนโลยี RFID, เว็บแอปพลิเคชัน, โพรโทคอล MQTT, การแจ้งเตือนผ่านไลน์

บทคัดย่อ

ความปลอดภัยและสวัสดิภาพองนักเรียนระหว่างการเดินทางไป และกลับจากโรงเรียนมีความสำคัญอย่างยิ่งงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาวิธีการตรวจสอบ และติดตามนักเรียนบนรถรับ-ส่งประจำโรงเรียน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่นักเรียนถูกลืมไว้ในรถ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการพัฒนาระบบนี้ประกอบด้วยบัตรที่ทำงานร่วมกับเทคโนโลยี RFID ซึ่งถูกเชื่อมต่อกับเว็บแอปพลิเคชัน และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ผ่านทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ซึ่งระบบนี้ทำงานโดยใช้บัตรที่เปิดใช้งาน RFID ซึ่งเมื่อนักเรียนเข้า หรือออกจากรถบัส ระบบจะส่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมไปยัง NodeMCU ESP8266 โดยใช้โพรโทคอล MQTT เพื่อประมวลผลและจัดเก็บเพิ่มเติมในฐานข้อมูล PHP MySQL นอกจากนี้ ยังมีการส่งการแจ้งเตือนเวลานักเรียนขึ้นหรือลงรถรับส่งผ่านแอปพลิเคชันไลน์ไปยังครูและผู้ปกครอง และยังสามารถดูข้อมูลต่าง ๆ ผ่านเว็บแอปพลิเคชันได้ เพื่อให้มั่นใจว่าครูและผู้ปกครองจะได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการขึ้นและลงจากรถบัสของนักเรียนทันที ส่วนผลการประเมินประสิทธิภาพระบบของผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.18 อยู่ในระดับมาก และผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.58 อยู่ในระดับดีมาก

References

[1] ธนดล ทัดเจริญ และ อนุพงศ์ พุ่มน้อย, "ชุด LED แจ้งเตือนด้วยเสียงบนรถตู้รับ-ส่งนักเรียน," สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ, 2561.

[2] เกศศักดิ์ดา ศรีโคตร และ วรางคณา เหนือคูเมือง, "การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ตัวตรวจจับทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับระบบแจ้งเตือนเด็กติดค้างในรถยนต์," วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ, ปีที่ 11, ฉบับที่ 1, หน้า 34-39, 2560.

[3] ณภัทร เลขะวัฒนะ และ ศิรดล ศิริธร, "การพัฒนาแบบจําลองการเลือกรูปแบบการเดินทางสำหรับนักเรียนระหว่างรถนักเรียนและยานพาหนะอื่น," วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 9, ฉบับที่ 1, หน้า 61-67, 2556.

[4] ศุกรีย์ แวหะมะ, อาลีฟท์ มะแอ, และ ซอและ เกปัน, "แอปพลิเคชันเช็คนักเรียนขึ้น-ลงรถ," ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 6 NSCIC2021, 1-2 เมษายน 2560.

[5] รุจกา สถิรางกูร, พัลลภา มิตรสงเคราะห์, และ อำนวย วิชญะลาส, "การพัฒนาต้นแบบระบบการตรวจสอบการเข้าเรียนโดยใช้ IoT และ RFID," วารสารการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 8, ฉบับที่ 2, หน้า 35-47, 2564.

[6] ธัญธร ศรีชัยสารกูร และ พรรษา เมธาโชติมณีกุล, "แอพพลิเคชันแจ้งเตือนตัวนับจำนวนคนเข้า-ออกด้วยกล้อง," วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ, 2563.

[7] พนิดา ฟักโต และ วศิน เกียรติโกมล, "การศึกษาพฤติกรรมและความรู้ด้านความปลอดภัยในการเดินทางของนักเรียน," ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27, 24-26 สิงหาคม 2565.

[8] มัลลิกา บุนนาค, สถิติเพื่อการวิจัยและตัดสินใจ, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023

How to Cite

[1]
อิงคเวชชากุล เ. ., โยยรัมย์ จ., และ บุญเกตุ ก., “การพัฒนาระบบติดตามดูแลนักเรียนที่มีประสิทธิภาพในการโดยสารรถรับ-ส่งประจำโรงเรียน โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และ RFID”, JEIT, ปี 1, ฉบับที่ 3, น. 46–53, มิ.ย. 2023.