การทดลองหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งปลาโดยใช้วิธีทากูชิ

ผู้แต่ง

  • สุรชัย นามพรมมา สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • ราชัญ อุดมคำ สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • ศุภกิจ เศิกศิริ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อามิณฑ์ หล้าวงศ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2023.4

คำสำคัญ:

การอบแห้งปลา, วิธีทากูชิ, เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

บทคัดย่อ

เครื่องอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมไฟฟ้าเป็นเครื่องมือที่มีความนิยมในการนำมาใช้อบแห้งผลิตภัณฑ์อาหาร แต่ปัญหาคือการกำหนดสภาวะที่เหมาะสมที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่อบแห้งแล้วมีคุณภาพเพียงพอและเหมาะสมกับช่วงเวลาที่ใช้ในการอบ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ทำการศึกษาปัจจัยและหาสภาวะที่เหมาะสมในการอบแห้ง กรณีศึกษาการอบแห้งปลาแดดเดียว โดยมีขั้นตอนการทดลองคือ การกำหนดปัจจัยที่ใช้ในการอบแห้ง การออกแบบการทดลองโดยใช้วิธีของทากูชิ การทดลอง และการหาสภาวะที่เหมาะสมที่ใช้ในการอบแห้ง ซึ่งเราได้ทำการทดลองโดยใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากหลอดอินฟราเรดเป็นหลักที่อุณหภูมิของเครื่องอบ 3 ระดับ ได้แก่ 38, 44 และ 50 oC และความเร็วอากาศในเครื่องอบ 3 ระดับ ได้แก่ 20, 25 และ 30 cfm ผลการทดลองพบว่าเครื่องอบแห้งปลาที่มีประสิทธิภาพในการอบแห้งที่ดีที่สุดคืออุณหภูมิของเครื่องอบอยู่ที่ 44 oC และความเร็วของอากาศในเครื่องอบอยู่ที่ 20 cfm ซึ่งทำให้ได้ค่าร้อยละของความชื้นที่หายไปและค่าคะแนนด้านคุณภาพโดยรวม อยู่ที่ 61.96% และ 85.0% ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาค่าความแปรปรวนของของร้อยละความชื้นที่หายไปและค่าคะแนนด้านคุณภาพโดยรวมแล้วพบว่าผลการวิเคราะห์ปัจจัยการทดลองระดับความเชื่อมั่นที่ 99.15% และ 99.39% ตามลำดับ

References

[1] ทนงศักดิ์ วัฒนา, "การอบแห้งกระเทียมโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพลังงานจากก๊าซชีวมวล," วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2558.

[2] พิสิษฏ์ มณีโชติ, "การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์," [ออนไลน์]. Available: http://www.royalagro.doae.go.th/?p=1346. [เข้าถึงเมื่อ: 29 มีนาคม 2565].

[3] สุขฤดี นาถกรณกุล, "มาตรการอนุรักษ์พลังงาน," [ออนไลน์]. Available: https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content. [เข้าถึงเมื่อ: 5 มกราคม 2565].

[4] พรพิษณุ ธรรมปัทม์, วีระยุทธ แสนมหาชัย, สุพรรษา บ่อใหญ่ และ กมล พลคำ, "ผลของการอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดไกลและลมร้อนต่อคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของขมิ้นชัน," วารสารเกษตรพระวรุณ, ปีที่ 18, ฉบับที่ 2, หน้า 8-15, 2021.

[5] พัชราภรณ์ อินริราย, สุรินทราพร ชั่งไชย, สุพรรณี คำอินทร์ และ ทิวา สุขโชติ, "การออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งใบบัวบกโดยรังสีอินฟราเรดต้นแบบ," วารสารเกษตรพระวรุณ, ปีที่. 16, ฉบับที่ 2, หน้า 47-257, 2019.

[6] สราวุฒิ ดาแก้ว, ชูทวีป ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, พรพิษณุ ธรรมปัทม์, ศนันธร พิชัย, ปาริชาติ ราชมณี และ ญาณิศา โพธิ์รัตน์โส, "การออกแบบและพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานความร้อนร่วมรังสีอินฟราเรดและลมร้อน," รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2560.

[7] กมลวรรณ จิตจักร และ แสนเชิง พรมชิต, "การศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้งปลาช่อนทะเลด้วยโรงเรือนอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์," วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, ปีที่ 12, ฉบับที่ 1, หน้า 75-97, 2565.

[8] จุฑารัตน์ ทะสะระ, สุภวรรณ ฏิระวณิชย์กุล และ ยุทธนา ฏิระวณิชย์กุล, "จลนพลศาสตร์การอบแห้งปลาข้าวสาร ด้วยลมร้อนและรังสีอินฟลาเรด," in Proceedings of the 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference, pp. 531-537, 2556.

[9] ฮาติมมี บากา, รอกีเยาะ อาแว, ซุลกิพลี กาซอ และ สุนิตย์ โรจนสุวรรณ, "การศึกษาประสิทธิภาพการอบแห้งของปลาช่อนด้วยตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมไฟฟ้า," วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย., ปีที่ 1, ฉบับที่1, หน้า 13-24, 2559.

[10] สยมพล ศรีหนา, สุรชัย บวรเศรษฐนันท์ และ วิศวัส ลิวนานนท์ชัย, "การอบแห้งปลาด้วยเครื่องอบแห้งอุณหภูมิต่ำที่ใช้ของไหลนาโนในท่อความร้อน," ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร์วิชาการ ครั้งที่ 8”, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์, pp. B402-B409, 2016.

[11] R. Smitabhindu, S. Janjai and V. Chankong, "Optimization of a solar-assisted drying system for drying bananas," Renewable Energy, vol. 33, no. 7, pp. 1523-1531, 2008.

[12] R. Smitabhindu, "Optimization of a solar-assisted drying system for drying bananas," Ph.D. thesis, Kasetsart University, Thailand, 2008.

[13] M. A. Hossain, "Forced convection solar drying of chilli," Ph.D. thesis, Agricultural University, Bangladesh, 2003.

[14] P. A. Berbert, D. M. Queiroz, J. S. Silva and J. B. F. Pinheiro, "Simulation of coffee drying in a fixed bed with periodic air flow reversal," Journal of Agricultural Engineering Research, vol. 60, no. 3, pp. 167-173, 1995.

[15] สุรพงศ์ บางพาน, พีรพันธ์ บางพาน และ ธิติกานต์ บุญแข็ง, "การประยุกต์วิธีการทากุชิสำหรับค่าที่ดีที่สุดโดยศึกษาของกระบวนการกะเทาะข้าวกล้องด้วยลูกยางกะเทาะเปลือก," วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ม.ช., ปีที่ 22, ฉบับที่ 1, หน้า 59-67, 2557.

[16] สุรพงศ์ บางพาน, "การประยุกต์วิธีการทากุชิสำหรับกระบวนกลึงที่ดีที่สุดโดยศึกษาค่าพารามิเตอร์ของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต," วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., ปีที่ 7, ฉบับที่ 2, หน้า 104-112, 2557.

[17] กองถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยี, "คู่มือเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์," [ออนไลน์]. Available: https://webkc.dede.go.th/testmax/sites/default/files.pdf. [เข้าถึงเมื่อ: 26 มีนาคม 2564].

[18] เสนา สอนประสม, "หลักการทำงานและส่วนประกอบของตู้อบปลาแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้ความร้อน," [ออนไลน์]. Available: http://sites.google.com/site/solarcelldryer. [เข้าถึงเมื่อ: 9 มีนาคม 2565].

[19] เสริม จันทร์ฉาย, "งานวิจัยด้านการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์," [ออนไลน์]. Available: http://www.solarlabsu.com/index.php/research/2. [เข้าถึงเมื่อ: 3 กรกฎาคม 2565].

[20] อัดสา ดอนทวี, "การอบแห้งและการประยุกต์ใช้งานเครื่องอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์," [ออนไลน์]. Available: http://www.fao.org/docrep. [เข้าถึงเมื่อ: 16 กันยายน 2565].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

How to Cite

[1]
นามพรมมา ส., อุดมคำ ร., เศิกศิริ ศ., และ หล้าวงศ์ อ., “การทดลองหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งปลาโดยใช้วิธีทากูชิ”, JEIT, ปี 1, ฉบับที่ 2, น. 31–43, เม.ย. 2023.