ศึกษาความเหมาะสมของอุณหภูมิจากฮีตเตอร์เพื่อใช้กับเครื่องกวนมะม่วงแบบกึ่งอัตโนมัติ

ผู้แต่ง

  • อนุวัช แสนพงษ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ภัคคิป ไกรโสดา สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • เสาวนีย์ จันทร์สว่าง สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ศิวณุ เหล่าบุตรสา สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ไฉไล ซาเสน สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2025.8

คำสำคัญ:

เครื่องกวนมะม่วง , ความหนืด , เปอร์เซ็นต์ความชื้น, อุณหภูมิ, ฮีตเตอร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความเหมาะสมของอุณหภูมิจากฮีตเตอร์ที่ใช้ในเครื่องกวนมะม่วงแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยทดลองอุณหภูมิที่ 90, 100, 110 และ 120 องศาเซลเซียส และศึกษาผลกระทบต่อคุณสมบัติของมะม่วงกวน ได้แก่ ความหนืด (Pa·s) น้ำหนัก (กรัม) และเปอร์เซ็นต์ความชื้น (%wb) การทดลองดำเนินการโดยใช้มะม่วงมหาชนกปั่น 2,000 กรัม และกวนต่อเนื่องในช่วงเวลา 30, 60, 90 และ 120 นาที ความเร็วในการกวน 15 รอบต่อนาที กระทะกวนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 22 นิ้ว ให้ความร้อนด้วยระบบฮีตเตอร์ขนาด 2,500 วัตต์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการกวนมีอิทธิพลต่อคุณภาพของมะม่วงกวน โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นช่วยเร่งการระเหยของน้ำส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความชื้น ลดลงและความหนืดเพิ่มขึ้น โดยอุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส และระยะเวลากวน 90 นาที เป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดได้น้ำหนักหลังการกวนที่ 730 กรัม เนื่องจากให้ค่าความหนืดใกล้เคียงค่าอ้างอิง 0.498 Pa·s และเปอร์เซ็นต์ความชื้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมประมาณ 70.32 %wb ทั้งนี้ การควบคุมอุณหภูมิและเวลาการกวนให้เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์

References

[1] A. Bhumsaidon, et al., "The stabilizer influence on qualities of Mahachanok mango (Mangifera indica L.) ice cream," Science and Technology Journal of Sisaket Rajabhat University, vol. 1, no. 1, 2025. (in Thai)

[2] P. Rachamontree, et al., "Production of Mahachanok (Mangifera indica L.) mango yam mixed with yam bean (Pachyrhizus erosus)," Udonthani Rajabhat University Journal of Sciences and Technology, vol. 8, no. 2, 2020. (in Thai)

[3] T. Chinnasaen, et al., "Production of ‘Maha Chanok’ mangoes for export to the Japanese market: The case study of Nong Bua Chum Village, Nong Hin Sub-district, Nong Kung Si District, Kalasin Province," Thai Journal of East Asian Studies, vol. 24, no. 1, 2020. (in Thai)

[4] N. Himpong, et al., "Design and development of packaging of Mahachanok mango: Case study of Nong Bua Chum Village community enterprise grower and process group, Nong Hin Sub District, Nong Kung Sri District, Kalasin," RMU Journal, vol. 17, no. 3, 2023. (in Thai)

[5] R. Meeduang, et al., "The mango pulp separating tool," Vocational Education Innovation and Research Journal (VE-IRJ), vol. 4, no. 2, 2020. (in Thai)

[6] R. Junsiri and A. Chuntanapum, "The development of a curry puff filling mixing machine using heat from liquefied petroleum gas (LPG) for community use," Udonthani Rajabhat University Journal of Sciences and Technology, vol. 8, no. 1, 2020. (in Thai)

[7] T. Thongsong and W. Sudsomboon, "The development of nipa palm sugar stirrer machine with automatic control," Wichcha Journal, vol. 42, no. 1, 2022. (in Thai)

[8] N. Kaushik, P. S. Rao and H. N. Mishra, "Process optimization for thermal-assisted high pressure processing of mango (Mangifera indica L.) pulp using response surface methodology," LWT - Food Sci. Technol., vol. 69, pp. 372–381, 2016.

[9] K. Chantasit, K. Muisi and S. Chittapattanakul, "Development of mangosteen stirrer machine with semi–automatic temperature controller for Ban Tha Sara community enterprise, Thamai District, Chanthaburi Province," RRBR Journal, vol. 12, no. 1, 2018. (in Thai)

[10] E. O. M. Akoy, "Effect of drying temperature on some quality attributes of mango slices," Int. J. Innov. Sci. Res., vol. 4, no. 2, pp. 91–99, 2014.

[11] A. Sarkar, M. W. Hossain, M. Alam, R. Biswas, M. Roy and M. I. Haque, "Drying conditions and varietal impacts on physicochemical, antioxidant and functional properties of onion powder," J. Agric. Food Res., vol. 12, p. 100578, 2023.

[12] F. Yi et al., "Physiological and quality changes in fresh-cut mango fruit as influenced by cold plasma," Postharvest Biol. Technol., vol. 194, p. 112105, 2022.

[13] N. Wirotthtiyawong, et al., "Value-adding process and value of mango products with participation of Non-Chan Subdistrict community enterprise, Bua Lai District, Nakhon Ratchasima Province," Research Community and Social Development Journal, vol. 17, no. 1, 2023. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2025

How to Cite

[1]
แสนพงษ์ อ. ., ไกรโสดา ภ. ., จันทร์สว่าง เ. ., เหล่าบุตรสา ศ. ., และ ซาเสน ไ. ., “ศึกษาความเหมาะสมของอุณหภูมิจากฮีตเตอร์เพื่อใช้กับเครื่องกวนมะม่วงแบบกึ่งอัตโนมัติ”, JEIT, ปี 3, ฉบับที่ 2, น. 30–40, เม.ย. 2025.