ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้แอปพลิเคชัน 7-Delivery โดยการจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร ของร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่นในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นิศากร สรรพเลิศ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • พีรพัฒน์ การถัก สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • จินตนา อ่อนลา สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2024.8

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชันธนาคาร, ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง, ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี, แอปพลิเคชัน 7-Delivery, ร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีเป้าหมายหลักคือการศึกษาพฤติกรรมในการตัดสินใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน 7-Delivery ของร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น โดยมีวัตถุประสงค์คือ (1) ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการแอปพลิเคชันดังกล่าว (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีซึ่งทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกใช้บริการ และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภครับรู้ความเสี่ยงซึ่งทำให้ตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันดังกล่าว การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยนี้จะใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 400 คน คือ ประชากรที่ใช้บริการแอปพลิเคชัน 7-Eleven Delivery แบบจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารของร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น ในเขตสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (เพศหญิงจำนวน 280 คน และเพศชายจำนวน 120 คน) อายุระหว่าง 24-29 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและเป็นนักศึกษา ส่วนเหตุผลที่ทำให้เลือกใช้บริการ เนื่องจากค่าส่งฟรี มีการใช้บริการประมาณ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ และมักใช้บริการในช่วงเวลา 18.00-21.00 น. สินค้าที่สั่งซื้อมากที่สุด คือ อาหาร โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยไม่เกิน 250 บาทต่อครั้ง ชำระเงินผ่านระบบจ่ายเงินออนไลน์ โดยจะส่งสินค้าไปยังที่อยู่ที่ระบุ อีกทั้งพบว่าความคิดเห็นต่อปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง และปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีมีผลต่อการเลือกใช้แอปพลิเคชัน 7-Delivery โดยการจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารของร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่นในเขตกรุงเทพ มีจำนวน 3 ด้าน คือ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน และการใช้งานจริง ส่วนปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงมีจำนวน 3 ด้าน คือ ความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัว ความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านระยะเวลา ซึ่งมีผลสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

[1] บริษัท ซีพี อออล์ จำกัด (มหาชน), "ประวัติความเป็นมา," [ออนไลน์]. Available: https://www.cpall.co.th [เข้าถึงเมื่อ: 10 มกราคม 2567].

[2] ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, "โควิด-19 และมาตรการควบคุมการระบาด...คาดทั้งปี 2564 มูลค่าตลาดจัดส่งอาหารขยายตัวร้อยละ 18.4 – 24.4 (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3256)," [ออนไลน์]. Available: https://www. kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/food-delivery-z3256.aspx. [เข้าถึงเมื่อ: 10 มกราคม 2567].

[3] ประชาชาติธุรกิจ, "ผุดแอปดีลิเวอรี่ส่งตรงหน้าบ้าน," [ออนไลน์]. Available: https://www.prachachat.net/marketing/news-404105. [เข้าถึงเมื่อ: 10 มกราคม 2567].

[4] F. D. Davis, R.P. Bagozzi, and P.R. Warshaw, "User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models," Management Science, vol. 35, no. 8, pp. 982-1003, 1989.

[5] สิงหะ ฉวีสุข และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร, "ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ," ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ, 2555.

[6] E. M. Rogers and D. Williams, Diffusion of Innovations, Glencoe, IL: The Free Press, 1983.

[7] ภานุพงศ์ เสกทวีลาภ และ รวิพรรณ สุภาวรรณ์, "ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจด้านพฤติกรรมการใช้ Cloud storage ในระดับ Software-as-a-Service (SaaS) ของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตพื้นที่เศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร," บัณฑิตวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ, 2557.

[8] R.A. Bauer, "Dynamic Marketing for a Changing World," in Proceedings of the 43rd National Conference of the American Marketing Association, Chicago, 1960, American Marketing Association, "Consumer Behavior as Risk Taking," in R.S. Hancock ed., pp. 389-398.

[9] S.M. Cunningham, "The Major Dimensions of Perceived Risk," in Risk Taking and Information Handling in Consumer Behavior, Harvard University, Boston, 1967.

[10] T. Zhou, "An empirical examination of user adoption of location-based services," Journal of Electronic Commerce Research, vol. 13, no. 1, pp. 25-39, 2013.

[11] M. Crawford และ A. Di Benedetto, New Products Management, 11 ed. New York, 2014.

[12] พสชนันท์ บุญช่วย และ ประสพชัย พสุนนท์, "การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างการยอมรับเทคโนโลยีกับการรับรู้ความเสี่ยงของผู้ใช้บริการสังคมไร้เงินสดกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานคร," วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปีที่ 4, ฉบับที่ 2, หน้า 31-48, 2564.

[13] ธนวรรณ สำนวนกลาง, "การยอมรับเทคโนโลยีการทำธุรกรรมทางการเงินรูปแบบ M - Banking," สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, , กรุงเทพฯ, 2559.

[14] อิสราวลี เนียมศรี, "การตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น LINE MAN ในกรุงเทพมหา- นคร," บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ, 2561.

[15] พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล, ธัญวฤณ วัทโล, และ วิลาสิณี สุดประเสริฐ, "ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทเอสเอสเคโลจิสติกส์ จํากัด," วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, ปีที่ 2, ฉบับที่ 3, หน้า 27-39, 2563.

[16] พิมพงา วีระโยธิน, "ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันอูเบอร์ อีท (Uber Eats) เพื่อบริการรับส่งอาหาร (Food Delivery) " นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560.

[17] สุภาภรณ์ สุวรรณรัตน์, "ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงต่อการใช้บริการธนาคารผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการ ธนาคารกรุงเทพในเขตกรุงเทพมหานคร," ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพฯ, 2562, หน้า 1778.

[18] ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์, "การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อ การตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันอาหาร," บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2561.

[19] สชา ทับละม่อม, "ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้การจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล," การจัดการมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ, 2564.

[20] W. G. Cochran, Sampling techniques. Hoboken. NJ: John Wiley & Sons, Inc., 1997.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024

How to Cite

[1]
สรรพเลิศ น. ., การถัก พ. ., และ อ่อนลา จ., “ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้แอปพลิเคชัน 7-Delivery โดยการจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร ของร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่นในเขตกรุงเทพมหานคร”, JEIT, ปี 2, ฉบับที่ 2, น. 22–35, เม.ย. 2024.