การใช้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ : กรณีศึกษาความต้องการของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จิตฎาณพัชญ์ ตันติเศรณี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความต้องการ, ความพึงพอใจ, การบริการ, สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาความต้องการเปรียบเทียบเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น 2) เปรียบเทียบความต้องการในการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์  จำนวน 341 คน จากประชากร 3,001 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความต้องการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (equation = 3.23)  แยกเป็นแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านกายภาพ อยู่ในระดับมาก (equation = 3.66) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก (equation = 3.57)  ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  อยู่ในระดับปานกลาง (equation = 3.31) และด้านบุคลากร อยู่ในระดับปานกลาง (equation = 3.31)  นักศึกษาชั้นปีต่างกันมีความต้องการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  อยู่ในระดับมาก ไม่แตกต่างกัน และนักศึกษาต่างสาขาวิชามีความต้องการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก ไม่แตกต่างกัน ปัญหาที่นักศึกษาพบคือ บางสาขาวิชามีห้องเรียนไม่เพียงพอ ชำรุด ไม่มีการปรับปรุง  ห้องเรียนมีแสงสะท้อนทำให้มีปัญหาในการมองไม่ชัด  ไม่เห็นตัวหนังสือ  และควรเพิ่มจอทีวีกลางห้องสำหรับห้องที่มีนักศึกษาจำนวนมาก  ห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอ และอาคารสำหรับฝึกปฏิบัติ  หรือทดสอบไม่ควรอยู่กลางแจ้ง  และอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติควรมีจำนวนเพียงพอกับผู้เรียน ควรมีห้องสมุดของคณะฯ  ข้อเสนอแนะควรมีระบบสารสนเทศหรือโปรแกรมให้บริการดาวโหลดฟรี  เพื่อใช้ในการเรียน เช่น PDF, Microsoft Office, Canva  ควรมี  3D Printer ให้นักศึกษาใช้เพียงพอ  บางสาขาวิชา wifi ช้ามาก  ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่และหลุดบ่อยครั้ง  ควรปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร. (2564).

กชกษิดิศ ฟักนุช. (2564). การศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการบริหารโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุทธิธัช คนกาญจน์. (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

Likert, R. (1961) New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.

ศุภกฤต พลิ้วไธสง. (2561). การสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ วิชาการประยุกต์ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์. บทความวิชาการวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี ปีที่ 12 ฉบับที่ 27 เดือนมกราคม – เมษายน 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29

How to Cite

ตันติเศรณี จิตฎาณพัชญ์. 2024. “การใช้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ : กรณีศึกษาความต้องการของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น”. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม 2 (2). Khon Kaen, Thailand:7-13. https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/3394.