อัตราส่วนผสมที่เหมาะสมจากวัตถุดิบท้องถิ่นนครศรีธรรมราชต่อการผลิตอิฐทนไฟ สำหรับเตาเผาไฟต่ำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนผสมจากวัตถุดิบท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชที่เหมาะสมต่อการผลิตอิฐทนไฟสำหรับตาเผาไฟต่ำ โดยใช้ส่วนผสมจากดินแดงทุ่งน้ำเค็ม ดินขาว ทุ่งใหญ่ ทรายน้ำแคบ แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ และขี้วัว ด้วยการใช้อัตราส่วนผสมจากตารางสี่เหลี่ยมด้านเท่า และหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมและทดสอบสมบัติทางกายภาพของอิฐทนไฟและสามารถขึ้นรูปได้โดยไม่แตกร้าว ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนระหว่าง ดินแดงทุ่งน้ำเค็ม : ดินขาวทุ่งใหญ่ (ค่าคงที่) + ทรายน้ำแคบ (ค่าคงที่) : แกลบดิบ + ขี้เถ้าแกลบ : ขี้วัว เท่ากับ 40 : 10+15 : 15+5 : 15 เผาที่อุณหภูมิ 950 องศาเซลเซียส สามารถเป็นอิฐทนไฟที่มีสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสม 5 ด้าน คือ 1) ความทนไฟ (Refractory) ด้านการถ่ายเทความร้อนแบบมิติเดียว เท่ากับ ด้านการพาความร้อน เท่ากับ 2.14 2) การหดตัว (Shrinkage) เท่ากับ ร้อยละ 16.5 3) ความพรุนตัว (Porosity) เท่ากับร้อยละ 32.7 4) พื้นผิว (Surface) อยู่ในระดับ 4 และ 5) ความแข็งแรงของเนื้อดินอิฐทนไฟ (Modulus of Rupture) เท่ากับ 25.24 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
อนึ่งผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่ปรากฏเผยแพร่ในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นอิสระของผู้แต่ง โดยผู้แต่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากบทความเผยแพร่นั้น ซึ่งกองบรรณาธิการและคณะผู้จัดทำวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
Kaewdee, K. (2015). Solving the problem of cracking of folk pottery from production process. In The 3rd National and International Research Conference of Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 20-22 May 2015, Nakhon Si Thammarat, Thailand, 125-137. (In Thai)
Sathitpanawong, L., Krajangyao, A., & Kongkaew, S. (2012). Development of 1,300 ℃ refractory bricks from Bang Pa Han clay, white clay, sand and sawdust. Nakhon Si Ayutthaya: Faculty of Science and Technology, Department of Applied Science, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (In Thai)
Nakhon Si Thammarat Provincial Culture Office. (2006). Local wisdom in folk handicraft: Ma Ying pottery, Thasala District, Nakhon Si Thammarat Province. Nakhon Si Thammarat: Nakhon Si Thammarat Provincial Culture Office. (In Thai)
Rasigreeyakorn, C. (1999). Mapping for geological resource exploration. Bangkok: Secretariat of the Department of Mineral Resources. (In Thai)
Sarasit, S. (2004). Development of thermal insulation bricks and construction of high-temperature kiln for ceramic production in Nakhon Si Thammarat Province. Nakhon Si Thammarat Rajabhat University: Office of the Higher Education Commission. (In Thai)
Phintsukul, S. (2012). Development of insulating refractory bricks from rice husk ash. Phitsanulok: Faculty of Industrial Technology, Pibulsongkram Rajabhat University. (In Thai)
Ingsiriwattana, P. (2004). Ceramic glaze recipes. (2nd ed.). Bangkok: Odeon Store. (In Thai)
Pornmeeyoo, S., Chittaladakorn, A., & Pataradelok, H. (2012). Effect of cow manure, compost and chemical fertilizers on water convolvulus (Ipomoea aquatica) production. In Proceedings of the 2nd Postgraduate Research Conference of Suan Sunandha Rajabhat University, 4-5 September 2012, Suan Sunandha Rajabhat University, Bangkok, Thailand, 1-12. (In Thai)
Ingkirit, P. (1998). Ceramic body. (1st ed.). Bangkok: O.S. Printing House. (In Thai)
Yosat, N., et al. (2016). Guidelines for the production of wall materials such as jointed earth blocks mixed with ceramic waste to increase energy saving efficiency. Bangkok: Faculty of Architecture, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. (In Thai)