สมบัติทางกลของยางธรรมชาติที่เติมฟองน้ำลาเท็กซ์เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ฟองน้ำลาเท็กซ์เหลือทิ้งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตหมอนและที่นอน งานวิจัยนี้จึงมีความสนใจที่จะนำฟองน้ำลาเท็กซ์เหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่เป็นสารตัวเติมให้กับยาง STR 5L เพื่อลด ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ยางและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียจากอุตสาหกรรมหมอนและที่นอน โดย เริ่มจากการบดฟองน้ำลาเท็กซ์เหลือทิ้งให้มีขนาดเล็กด้วยเครื่องย่อยและบดละเอียดด้วยเครื่องบด ผสมแบบสองลูกกลิ้ง ตามด้วยการร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 10 จากนั้นนำมาผสมกับยาง STR 5L ด้วย เครื่องบดผสมแบบสองลูกกลิ้ง โดยแปรปริมาณฟองน้ำลาเท็กซ์เหลือทิ้งที่บดย่อยแล้ว 5 ระดับ คือ 0, 15, 30, 45 และ 60 phr ตามลำดับ สารเคมียางอื่น ๆ ที่เติม ประกอบด้วยกรดสเตียริก 5 phr, ซิงค์ออกไซด์ 1.5 phr, วิงสเตย์ แอล 1 phr, ซีบีเอส 1 phr และกำมะถัน 2 phr ทำการอัดขึ้นรูปยางคอมพาวน์ดที่เตรียมได้ให้เป็นแผ่นยางคงรูปขนาด 25x25x0.2 เซนติเมตร ด้วยเครื่องอัดขึ้นรูปด้วย ความร้อนที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบสมบัติความทนต่อแรงดึงตาม มาตรฐาน ASTM D412 (Die C) พบว่าสมบัติความต้านทานต่อแรงดึงมีค่าลดลงตามปริมาณฟองน้ำ ลาเท็กซ์เหลือทิ้งที่เพิ่มขึ้น โดยความทนต่อแรงดึงต่ำสุดอยู่ที่ 3.59 MPa เมื่อทดสอบสมบัติความแข็ง ของยางคงรูปมาตรฐาน ASTM D2240 (Shore A) พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติที่ไม่มี ส่วนผสมฟองน้ำลาเท็กซ์เหลือทิ้ง ความแข็งของยางเพิ่มสูงขึ้นตามปริมาณฟองน้ำลาเท็กซ์เหลือทิ้ง โดยค่าความแข็งสูงสุดที่ได้อยู่ที่ 55 Shore A
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
อนึ่งผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่ปรากฏเผยแพร่ในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นอิสระของผู้แต่ง โดยผู้แต่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากบทความเผยแพร่นั้น ซึ่งกองบรรณาธิการและคณะผู้จัดทำวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
Kajonchaikul,W. (2016). Latex technology. 2nd ed. Bangkok: Wanida Phim. (In Thai)
Kaewchang, S. (2009). “Development of floor covering blocks made from natural rubber and waste EPDMg,” M.Eg. thesis, Industrial and Systems Engineering. Songkhla, Prince of Songkhla University. (In Thai)
Deepanya, W., and Suwiro, K. (2018). “Rubber tile products mixed with plastic waste from industrial factories,” Journal of Community Development and Life Quality. 4(3): pp. 451-460. (In Thai)
Sukrat, K., Chaturapiree, A., Chaichana, E., and Saowapak. (2017). “Properties of natural rubber filled with silica from rice husk coated with polyethylene,” Thaksin University Journal. 20(2): pp. 54-63. (In Thai)