Peer Review Process
กระบวนการพิจารณาหรือประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Systems)
การแนะนำวารสาร
วารสารวิศวกรรมเครื่องกลไทย (Thai Journal of Mechanical Engineering; TJME) เป็นวารสารที่มีการเผยแพร่บทความวิจัยที่มีคุณภาพทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลที่ผ่านการรับรองโดยกระบวนการพิจารณาหรือประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างเข้มงวดก่อนที่จะมีการเผยแพร่ สำหรับต้นฉบับที่ส่งเข้ามาจะถูกนำมาพิจารณาหรือประเมินผ่านขั้นตอนและการบวนการต่างๆ ของสำนักงานบรรณาธิการของวารสาร
รูปแบบการพิจารณาหรือประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
ขั้นตอนสำคัญในการตีพิมพ์บทความของวารสาร คือ กระบวนการพิจารณาหรือประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "การพิจารณาหรือประเมินแบบปกปิดทั้งสองทาง (Double-anonymous peer review)" ซึ่งผู้พิจารณาหรือประเมินจะไม่ทราบตัวตนของผู้นิพนธ์ต้นฉบับที่ส่งเข้ามาในระบบและรายละเอียดของการประเมินจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ โดยทั่วไปแล้วการพิจารณาหรือประเมินแบบปกปิดทั้งสองทางถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในวารสารทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์
วารสารวิศวกรรมเครื่องกลไทย (Thai Journal of Mechanical Engineering; TJME) ที่จะตีพิมพ์ในวาสารจะต้องผ่านการพิจารณาหรือประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบรายละเอียดของกันและกัน (double-blind review) ซึ่งระบบในการพิจารณาหรือประเมินในลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง เนื่องจากระบบนี้สามารถป้องกันความอคติหรือขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากทรงผู้คุณวุฒิ (Reviewer) และผู้นิพนธ์ (Author) ได้
กระบวนการทบทวนของกองบรรณาธิการวารสาร
วารสารวิศวกรรมเครื่องกลไทย (Thai Journal of Mechanical Engineering; TJME) จะมีผู้รับผิดชอบและผู้ตัดสินใจในกระบวนการต่างๆ อยู่ 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่ กองบรรณาธิการวารสาร (Journal Editorial Office, JEO) การทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก (External Expert Review, EER) รองบรรณาธิการบริหาร (Associate Editor, AE) และบรรณาธิการบริหาร (Editor in Chief, EIC) โดยกระบวนการทบทวนของกองบรรณาธิการวารสารจะถูกแบ่งออกเป็น 10 ขั้นตอนหลักๆ มีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1: การส่งต้นฉบับหรือบทความ
ผู้นิพนธ์ที่เกี่ยวข้องหรือผู้นิพนธ์ผลงานจะต้องส่งต้นฉบับหรือบทความไปยังวารสารวิศวกรรมเครื่องกลไทย (Thai Journal of Mechanical Engineering; TJME) ผ่านระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (ThaiJO) เท่านั้น โดยการใช้ระบบการส่งบทความออนไลน์ที่ทางวารสารกำหนดไว้จะช่วยให้ผู้นิพนธ์มั่นใจได้ว่าต้นฉบับจะได้รับการพิจารณาและตรวจสอบโดยสำนักงานบรรณาธิการของวารสารอย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถช่วยให้ขั้นตอนในกระบวนการต่างๆ เป็นไปอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ รวมไปถึงสามารถช่วยให้การเผยแพร่หรือตีพิมพ์บทความเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
ขั้นตอนที่ 2: การพิจารณาและตรวจสอบเบื้องต้น
กองบรรณาธิการวารสาร (JEO) จะดำเนินการตรวจสอบว่าต้นฉบับที่ส่งเข้ามาเป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารวิศวกรรมเครื่องกลไทย (Thai Journal of Mechanical Engineering; TJME) ที่อธิบายไว้ในแนวปฏิบัติของผู้นิพนธ์วารสารหรือไม่ และต้นฉบับต้องมีความคล้ายคลึงกับงานหรือบทความอื่นๆ น้อยกว่า 30% โดยขั้นตอนนี้จะไม่มีการพิจารณาหรือตรวจสอบในด้านคุณภาพงานวิจัย และถ้าต้นฉบับไม่เป็นไปตามข้อกำหนดไม่ได้รับการประเมินในขั้นตอนต่อไป (การพิจารณาและตรวจสอบเบื้องต้นจะใช้เวลาประมาณ 1-4 วัน)
ขั้นตอนที่ 3: การตรวจสอบและคัดกรองล่วงหน้า
บรรณาธิการบริหาร (EIC) จะตรวจสอบและประเมินต้นฉบับที่ส่งมาเบื้องต้น โดยจะทำการพิจารณาจากขอบเขต จุดมุ่งหมาย ความคิดริเริ่ม คุณค่าทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงความสำคัญของการศึกษา ในขั้นตอนนี้ต้นฉบับสามารถถูกปฏิเสธโดยบรรณาธิการบริหารได้ถ้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือรายละเอียดดังที่กล่าวมา (การตรวจสอบและคัดกรองล่วงหน้าจะใช้เวลาประมาณ 1-4 วัน)
ขั้นตอนที่ 4: การมอบหมายให้รองบรรณาธิการบริหาร
บรรณาธิการบริหาร (EIC) จะส่งต้นฉบับและมอบหมายหน้าที่ให้รองบรรณาธิการบริหาร (AE) ในการพิจารณาหรือคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของต้นฉบับที่ประสงค์จะตีพิมพ์ในวารสารวิศวกรรมเครื่องกลไทย (Thai Journal of Mechanical Engineering; TJME) เพื่อมาพิจารณาและประเมินบทความ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะถูกดำเนินการโดยรองบรรณาธิการบริหาร (หรือเทียบเท่า) อย่างเหมาะสม (การมอบหมายให้รองบรรณาธิการบริหารจะใช้เวลาประมาณ 1-3 วัน)
ขั้นตอนที่ 5: การเชิญผู้ตรวจสอบและการพิจารณาหรือประเมินบทความ
รองบรรณาธิการบริหาร (AE) จะส่งคำเชิญไปยังบุคคลที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ (EER) ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของต้นฉบับที่ส่งเข้ามาในระบบ หากไม่ได้รับการตอบกลับจากผู้ทรงคุณวุฒิจะมีการส่งคำเชิญเพิ่มเติมจนกว่าจะได้ผู้ทรงคุณวุฒิครบตามจำนวนที่ทางวารสารกำหนดไว้ (ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน) โดยวารสารจะใช้กระบวนการการพิจารณาหรือประเมินแบบปกปิดทั้งสองทาง (Double-anonymous peer review) ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบถึงรายละเอียดของกันและกัน (การเชิญผู้ตรวจสอบและการพิจารณาหรือประเมินบทความจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์)
ขั้นตอนที่ 6: การประเมินบทวิจารณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิ
รองบรรณาธิการบริหาร (AE) จะพิจารณาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ส่งคืนกลับมาทั้งหมด ก่อนที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของต้นฉบับที่ส่งมาเพื่อทำการตีพิมพ์ หากความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิมีความแตกต่างกันอย่างมาก รองบรรณาธิการบริหาร (AE) อาจมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมเพื่อเสนอการประเมินเพิ่มเติมก่อนที่จะตัดสินใจอีกครั้งในภายหลัง หลังจากนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ (EER) จะมีคำแนะนำให้รองบรรณาธิการบริหาร (AE) ว่าต้นฉบับควรเป็นไปตามเกณฑ์หรือข้อกำหนดใด ดังต่อไปนี้ (การประเมินบทวิจารณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิจะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน)
ก) ยอมรับตามต้นฉบับที่ผู้นิพนธ์ส่ง (Accept) หรือ
ข) ยอมรับโดยมีการปรับแก้ไขเล็กน้อย (Accept with Minor Revision) หรือ
ค) ยอมรับโดยมีการปรับแก้ไขอย่างมาก (Accept with Major Revision) หรือ
ง) ถูกปฏิเสธไม่ให้ตีพิมพ์ (Reject)
ขั้นตอนที่ 7: การตัดสินใจขั้นสุดท้ายโดยบรรณาธิการบริหาร
เมื่อได้รับต้นฉบับที่แก้ไขตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว บรรณาธิการบริหาร (EIC) จะทำการตรวจสอบต้นฉบับที่ได้รับการแก้ไขอีกครั้งและจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับที่ได้รับการแก้ไขจะได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือไม่ (การตัดสินใจขั้นสุดท้ายโดยบรรณาธิการบริหารจะใช้เวลาประมาณ 4-7 วัน)
ขั้นตอนที่ 8: การเตรียมต้นฉบับในขั้นตอนสุดท้าย
หลังจากที่บรรณาธิการบริหารยอมรับต้นฉบับให้ตีพิมพ์ในวารสารแล้ว ต้นฉบับนั้นจะถูกนำมาแก้ไขและจัดรูปแบบเพื่อเตรียมการสำหรับการตีพิมพ์ในวารสาร (การเตรียมต้นฉบับในขั้นตอนสุดท้ายจะใช้เวลาประมาณ 4-7 วัน)
ขั้นตอนที่ 9: การตรวจสอบความถูกต้องในขั้นตอนสุดท้าย
ต้นฉบับที่แก้ไขและจัดรูปแบบเพื่อเตรียมการสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารแล้วจะถูกส่งกลับไปยังผู้นิพนธ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง หลังจากทำการแก้ไขและตรวจสอบขั้นสุดท้ายโดยผู้นิพนธ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต้นฉบับนจะถูกส่งกลับไปยังกองบรรณาธิการบริหาร (JEO) (การตรวจสอบความถูกต้องในขั้นตอนสุดท้ายจะใช้เวลาประมาณ 4-7 วัน)
ขั้นตอนที่ 10: การประเมินต้นฉบับในขั้นสุดท้าย
หลังจากที่กองบรรณาธิการบริหาร (JEO) ได้รับการยืนยันจากผู้นิพนธ์แล้ว กองบรรณาธิการวารสารจะทำการประเมินต้นฉบับในขั้นสุดท้ายก่อนทำการตีพิมพ์บทความในระบบวารสารออนไลน์ (การประเมินต้นฉบับในขั้นสุดท้ายจะใช้เวลาประมาณ 4-7 วัน)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------