การศึกษาพารามิเตอร์เพื่อสอบเทียบการกระจายตัวอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ สำหรับหัวเผาเชื้อเพลิงชีวมวลผงชนิดห้องเผาไหม้ช่วย

ผู้แต่ง

  • พงศกร สิริภูมิ
  • จารุวัตร เจริญสุข
  • ภรณ์เพ็ญ ลภิรัตนากูล

คำสำคัญ:

พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ, การเผาไหม้, การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการปรับแต่งพารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อการเผาไหม้ของเชื่อเพลิงชีวมวลผง สำหรับหัวเผาเชื้อเพลิงชีวมวลผงชนิดห้องเผาไหม้ช่วย ที่อัตราการเผาไหม้เชื้อเพลิงขาเข้า 300kW ด้วยการจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณแบบ 2 มิติ เบื้องต้นได้ทำการตรวจสอบความเป็นอิสระของกริด โดยจากผลการทดสอบได้เลือกใช้กริดขนาดความละเอียดจำนวน 28584 เอลิเมนต์ พารามิเตอร์ที่ทำการปรับแต่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 หมวดตามแบบจำลอง ได้แก่ Devolatilization, Char Combustion และ Enthalpy of formation ของสารระเหย ประกอบไปด้วย 5 พารามิเตอร์ย่อย โดยก่อนการปรับแต่งพบว่าอุณหภูมิตำแหน่ง T1-T4 มีระดับต่ำกว่าผลการทดลองคิดเป็นความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 15.025% ในขณะที่อุณหภูมิตำแหน่ง T5 มีค่าสูงกว่า คิดเป็นความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 15.6% และ T6-T7 คิดเป็นความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 2.05% ผู้วิจัยได้ทำการปรับแต่งโดยมุ่งเน้นให้สารตั้งต้นเกิดการปลดปล่อยพลังงานภายในห้องเผาไหม้ช่วยมากขึ้น เพื่อเพิ่มระดับอุณภูมิ T1-T4 ในขณะเดียวกันต้องลดหรือรักษาไม่ให้ T5 สูงเกินกว่าผลการทดลองมากจนเกินไป จากผลการปรับแต่งพารามิเตอร์ทั้ง 3 หมวด ทำให้อุณหภูมิ T1-T4 สูงจนถึงระดับเดียวกันกับผลการทดลอง มีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 1.225% แต่พบว่า T5 ยังคงมีค่าสูงกว่าคิดเป็นความคลาดเคลื่อน 16.1% และ T6-T7 มีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 2.95% โดยอยู่จากการพิจารณารูปแบบการไหลในห้องเผาไหม้ช่วยเห็นว่าบริเวณตำแหน่ง T1-T4 ลักษณะการไหลที่มีความปั่นป่วนมากกว่าบริเวณอื่นๆ ดังนั้นผู้วิจัยจึงให้ความสำคัญกับความแม่นยำในบริเวณดังกล่าวเป็นหลัก ซึ่งหลังจากการปรับแต่งพารามิเตอร์มีวามคลาดเคลื่อนลดลงอย่างเห็นได้ชัด จึงสามารถใช้ชุดพารามิเตอร์นี้ในการศึกษาอิทธิพลการขยายหัวเผาต่อไปได้

References

Muto M, Watanabe H, Kurose R. Large eddy simulation of pulverized coal combustion in multi-burner system-effect of in-furnace blending method on NO emission. Advanced Powder Technology 2019;30:3153-3162.

Rahimipetroudi I, Rashid K, Yang JB, Dong SK. Comprehensive study of the effect of a developed co-firing burner and its front-wall, opposed-wall, and tangential firing arrangements on the performance improvement and emissions reduction of coal-natural gas combustion in a boiler. Int. J. of Therm. Sci. 2022;173:107379.

Laubscher R, Rousseau P. Numerical investigation into the effect of burner swirl direction on furnace and superheater heat absorption for a 630 Mwe opposing wall-fired pulverized coal boiler. Int. J. of Heat and Mass Transfer. 2019;137:506-522.

Pérez-Jeldres R, Cornejo P, Flores M, Gordon A, García X. A modeling approach to co-firing biomass/coal blends in pulverized coal utility boilers: Synergistic effects and emissions profiles. Energy 2017;120:663-674.

Chowdhury MSR, Azad AZ, Karim MR, Naser J, Bhuiyan AA. Reduction of GHG emissions by utilizing biomass co-firing in a swirl-stabilizer furnace. Renewable Energy 2019;143:1201-1209.

Aziz M, Budianto D, Oda T. Computational fluid dynamic analysis of co-firing of palm kernel shell and coal. Energies 2016;9:137.

Laphirattanakul P, Kanprom P, Kwankaomeng S, Charoensuk J. Effect of bluff body and swirl plate on performance of pulverized biomass combustion in a laboratory-scale furnace. The 8th TSME International Conference on Mechanical Engineering, December 2017, Bangkok, Thailand.

Laphirattanakul P, Charoensuk J, Turakarn C, Keawchompoo C, Suksam N., Development of pulverized biomass combustor with a pre-combustion chamber. Energy 2020;208:118333.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-11-2024