การศึกษาปริมาณธาตุและค่าความเป็นกรด-ด่างของดินในพื้นที่เพาะปลูกข้าวในหมู่บ้านท้ายลาด ตำบลบางลี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ โตสอาด
  • พัชรา โตสอาด
  • ปัทมาวรรณ์ วงษ์สง่า
  • สรายุทธ์ พานเทียน ผู้ประพันธ์บรรณกิจ

คำสำคัญ:

ธาตุอาหารพืช, ความเป็นกรด-ด่าง, เทคนิคเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์, ข้าว

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณธาตุในดินโดยการตรวจสอบปริมาณธาตุอาหารหลักด้วยชุดตรวจสอบดินของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริมาณธาตุอาหารเสริมด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนต์ ทั้งยังศึกษาความเป็นกรด-ด่างด้วยเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (913 pH meter) ตัวอย่างดินจากแปลงนาข้าวจำนวน 3 แปลงที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังบ่อยจากในพื้นที่เพาะปลูกข้าวในหมู่บ้านท้ายลาด ตำบลบางลี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 6.92-7.20 ปริมาณธาตุอาหารหลักไนโตรเจนต่ำ-ปานกลาง ฟอสฟอรัสต่ำ-ปานกลาง โพแทสเซียมปานกลาง-สูง ขณะที่ปริมาณธาตุอาหารเสริมอย่างแคลเซียม เหล็ก ซิลิกอน และไทเทเนียม มีร้อยละปริมาณความเข้มข้นของธาตุที่เป็นองค์ประกอบในสารประกอบเทียบกับสารประกอบทั้งหมดในดินเป็น 4.15-7.09, 42.74-46.17, 36.17-38.61 และ 3.31-3.44 ตามลำดับ เมื่อศึกษาคุณภาพดินแล้วอยู่ในระดับปานกลาง ควรเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสและลดความเป็นกรด-ด่างในดินในการปลูกข้าวครั้งต่อไป

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2566). ข้อมูลการจัดการดิน. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566.

https://www.ldd.go.th/Web_Soil/Page_02.htm.

ฐปรัฏฐ์ สีลอยอุ่นแก้ว และ อำพล กิมิเส. (2561). สมบัติดินและการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกข้าวชั้นพันธุ์คัดและพันหลักธุ์หลัก ศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 41(1), 17-26.

สำนักงานเกษตรอำเภอท่าวุ้ง. (2564). แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2564. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 4-34 .

กัญญา สิทธิ์โท, อุราภรณ์ บุญมั่น, ชวนพิศ จารัตน์, นภาพร แข่งขัน และประทีป ดวงแว่ว. (2557). การศึกษาคุณภาพดินในนาข้าว อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เพื่อการใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสม. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น 36(1), 42-49.

ธวัฒน์ชัย เทพนวล, สุจิตรา แสงชัยศร และ ปรียานันท์ ศรีสุวรรณ. (2554). ข้อมูลธาตุในดินตะกอนทะเลน้อยถูกวัดด้วยเทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนซ์แบบกระจายพลังงาน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 14(3), 123-128.

กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน. คำแนะนำการจัดการดินตามรายชุดดิน. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 27 กรกฏาคม 2566. http://iddindee.ldd.go.th/SoilSeries/T_2_20032021/7_Series_(Tr).pdf

ตริตาภรณ์ ชูศรี. (2546). การวิเคราะห์ปริมาณโลหะในดินชุดดินยโสธรในบริเวณจังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยสุรนารี, 30-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-01-2024