การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการประมวลผลภาพ สำหรับการตรวจกระดาษคำตอบปรนัยแบบอัตโนมัติ

ผู้แต่ง

  • เพ็ณนภา ยอยบุปผา
  • ชุน-จา สมโภชน์ บุสตามานเต้
  • ภูมินทร์ ตันอุตม์ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ

คำสำคัญ:

ระบบตรวจข้อสอบปรนัย, การประมวลผลภาพ, , การแบ่งกลุ่มคำตอบ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันที่ใช้วิธีการประมวลผลภาพเพื่ออ่านและให้คะแนนแบบอัตโนมัติของกระดาษคำตอบแบบกากบาทที่ใช้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทย เครื่องมือนี้สร้างขึ้นด้วย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การรับเข้าข้อมูลข้อสอบ การปรับขนาดภาพ การแบ่งส่วนภาพ การเปลี่ยนแปลงลักษณะรูปร่างหรือโครงร่างของภาพ และระบุคำตอบ การทดสอบประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันประเมินด้วย 2 วิธี วิธีที่ 1 เป็นการทดสอบความสามารถของเว็บแอปพลิเคชันเพื่อแยกแยะประเภทของการกากบาทในกระดาษคำตอบแบบเดิมซึ่งนักศึกษาต้องทำการกากบาทลงไปในข้อที่ต้องการเลือก การตอบเป็นไปได้ 4 กรณี ประกอบด้วย กากบาทถูกต้องเพียง 1 คำตอบ กากบาทมากกว่า 1 คำตอบ ไม่มีการกากบาท และมีการลบลิควิด ความถูกต้องของแอปพลิเคชันประเมินโดยใช้ข้อสอบ 30 แผ่นที่ให้นักศึกษาทำการกากบาท สิ่งเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบด้วยสายตาและให้ลงคะแนนล่วงหน้า พบว่า ทุกกรณีที่กากบาทถูกต้องเพียง 1 คำตอบ แอปพลิเคชันประเมินทุกคำตอบที่ถูกและผิดได้อย่างถูกต้อง ข้อสอบทั้ง 30 แผ่น ประกอบด้วย กากบาทมากกว่า 1 คำตอบ จำนวน 5 ข้อ และไม่มีการกากบาทจำนวน 11 ข้อ แอปพลิเคชันประเมินทุกข้อว่าไม่ถูกต้องได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังมีการทดสอบด้วยการลบลิควิดซึ่งมีจำนวน 23 ข้อ แอปพลิเคชันไม่สนใจตัวเลือกที่มีการลบด้วยลิควิดอีกทั้งยังทำงานได้อย่างถูกต้อง การทดลองแสดงให้เห็นว่า แอปพลิเคชันสามารถประเมินและตอบสนองได้อย่างถูกต้องทุกครั้งและไม่สับสนกับเงื่อนไขที่ไม่ได้มาตราฐาน ดังนั้นประสิทธิภาพจึงมีความแม่นยำอยู่ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ แอปพลิเคชันนี้สามารถใช้ในการให้คะแนนกระดาษคำตอบมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง

References

วิรัช วรรณรัตน์. (2558). หลักและวิธีการสอบวัด. บทความพิเศษ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 1(2), 1-12.

งานวัดและประเมินผล. (2565). งานวัดผลโรงเรียนคลองลานวิทยา. https://sites.google.com/view/klvschool.

ธนากรณ์ เจริญยิ่ง และดิเรก ธีระภูธร. (2562). การพัฒนาชุดฝึกอบรม การตรวจข้อสอบปรนัยด้วยโปรแกรม Zipgrade สำหรับครูผู้สอน ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 21(2). 59-67.

พฤฒิพงศ์ เพ็งศิริ. (2552). การตรวจกระดาษคำตอบแบบปรนัยโดยใช้หลักการบล็อกคัลเลอร์ริงและทฤษฎีเบย์เซียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่). https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:113106.

พุทธินันท์ พัดกระจ่าง และคณะ. (2556). ระบบตรวจข้อสอบแบบปรนัยบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน). http://cpe.eng.kps.ku.ac.th/project_IdDoc67_IdPro66.pdf.

กฤษณะ ชินสาร และ ยุทธพงษ์ รังสรรค์เสรี. (2541). ระบบตรวจข้อสอบปรนัยที่ใช้หลักการของการประมวลผลภาพ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 36: บทคัดย่อ 3-5 กุมภาพันธ์ 2541. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 36. (หน้า 218). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์;กระทรวงเกษตรและสหกรณ์;กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม;ทบวงมหาวิทยาลัย.

ภูมินทร์ ตันอุตม์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมตรวจกระดาษคำตอบปรนัยแบบเลือกตอบด้วยวิธีการประมวลผลภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 9(10). 113- 126.

Anvil Docs. (2023). Welcome to Anvil. https://anvil.works/docs/overview.

T. Carneiro, R. V. Medeiros Da NóBrega, T. Nepomuceno, G. -B. Bian, V. H. C. De Albuquerque and P. P. R. Filho, "Performance Analysis of Google Colaboratory as a Tool for Accelerating Deep Learning Applications," in IEEE Access, vol. 6, pp. 61677-61685, 2018, doi: 10.1109/ACCESS.2018.2874767.

Rafael C.Gonzalez., Richard E.Woods.,& Steven L.Eddins.(2011).Digital Image Processing Using Matlab.USA:McGrew-Hill. Prentice Hall 4nd edition.

Susanta Mukhopadhyay et All, “Multiscale Morphological Segmentation of Gray-Scale Images” IEEE TRANSACTIONS ON IMAGE PROCESSING, VOL. 12, NO. 5, [MAY 2003]

ภาพรวมของระบบเว็บแอปพลิเคชัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-08-2024