ความรู้และพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของพนักงานในสถานประกอบการ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปิยะพร บรรเทา
  • อิสระ ตั้งสุวรรณ์
  • พิณทิพย์ แก้วแกมทอง
  • ธนาวรรณ พิณะเวศน์
  • ฤทัยรัตน์ น้อยคนดี
  • พรทวี กองร้อย ผู้ประพันธ์บรรณกิจ

คำสำคัญ:

ความรู้, พฤติกรรม, การคัดแยกขยะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยของพนักงานในสถานประกอบการแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานที่ทำงานในสถานประกอบการ จำนวน 161 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกนเพื่อกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบบการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-probability Sampling) หรือ “การคัดเลือก (Selection)” เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้หลังการอบรม สำหรับการสังเกตพฤติกรรมการคัดแยกขยะของพนักงาน เปรียบเทียบจากการสำรวจปริมาณขยะก่อนการได้รับการอบรมและหลังการได้รับการอบรมให้ความรู้ พร้อมทั้งเปรียบเทียบปริมาณขยะที่ขายได้ก่อนการอบรมและหลังการอบรม ผลการศึกษาพบว่า พนักงานในสถานประกอบการมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะในระดับความรู้สูง และปริมาณขยะหลังการดำเนินการโครงการมีปริมาณขยะที่ลดลงสามารถจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับสถานประกอบการได้มากขึ้น บ่งชี้ถึงถึงพฤติกรรมของพนักงานในการคัดแยกขยะที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565. ส่วนขยะมูลฝอยชุมชนกองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

Srijuntrapun, P., & Chaiboonchoe, A. . (2021). The Study of Quantity of Household Waste during the Coronavirus (COVID-19) Outbreak. University of the Thai Chamber of Commerce Journal Humanities and Social Sciences, 41(2), 1–17. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/245881

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). Tourism Economic Review รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ปีที่ 3 ฉบับที่ 1/2565. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

Thamchalai, A. (2019). GUIDELINES FOR THE MANAGEMENT TO INCREASE THE EFFECTIVENESS OF PLASTIC WASTE MANAGEMENT INDUSTRY IN THAILAND. Journal of MCU Social Science Review, 8(2), 143–154. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/192666

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชญาดา หงษา. (2564). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกขยะมูลฝอยในเขตบางพลัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการเมืองการปกครอง, 11(1), 85-99

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์ และ อาภากร มินวงษ์. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(3), 5-14

ปริมาณขยะก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-08-2024