การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันมอฟอร์ยู

ผู้แต่ง

  • ศราวุธ อวดกล้า
  • ธนากร เจริญรุกข์
  • ศรัญญา ตรีทศ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ
  • เจษฎาพร ปาคำวัง

คำสำคัญ:

มอฟอร์ยู, เกษตรกรฟาร์มโคเนื้อ , เว็บแอปพลิเคชันมอฟอร์ยู

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันมอฟอร์ยู มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการข้อมูลฟาร์มโคเนื้อ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันมอฟอร์ยู ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถจัดการข้อมูลเกี่ยวกับฟาร์มโคเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเว็บแอปพลิเคชันมีเนื้อหาเกี่ยวกับสายพันธุ์โคเนื้อที่นิยมเลี้ยงเพื่อนำมาใช้ในการจัดการฟาร์มโคเนื้อในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และเกษตรกรสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการจัดการฟาร์มด้านต่างๆ เช่น การผสมพันธุ์ การให้อาหาร การรักษา เป็นต้น ผู้วิจัยดำเนินงานโดยใช้กระบวนการพัฒนาระบบตามแนวคิดของวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) มีการออกแบบและพัฒนาระบบเชิงวัตถุด้วยยูเอ็มแอลในรูปแบบเว็บ
แอปพลิเคชันโดยใช้ภาษาพีเอชพีและจาวาสคริปต์ เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันมอฟอร์ยู สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญของโคเนื้อได้อย่างครบถ้วนและเป็นระเบียบ เช่น ข้อมูลการเกิด น้ำหนัก สุขภาพ และประวัติการรักษา สามารถเข้าถึงข้อมูลและแสดงผลผ่านส่วนต่อประสานผู้ใช้ สามารถใช้งานได้สะดวกและง่ายต่อการทำงาน ช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การค้นหารายงาน การบันทึกสถิติการเจริญเติบโตของโคเนื้อ ลดข้อผิดพลาดในการจัดการข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการฟาร์มโคเนื้อได้

References

กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์. (2556). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ.

กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์.สืบค้นจาก https://www.acfs.go.th/standard/download/BEEF_CATTLE_FARM.pdf

ทองปาน ปริวัตร, พันธวธุ จันทรมงคล, จตุรงค์ จิตติยพล, พงษ์ศักดิ์ ดรพินิจ, และ อรวรรณ ปริวัตร. (2563). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลโคนม:กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมบ้านซำจาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาชุมชนและชีวิต, 8 (1), 131-143.

สุดารัตน์ โมโค. (2563). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันการจัดการฟาร์มโคนม. กรุงเทพฯ.(สารนิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์แอนด์เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี). สืบค้นจาก https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Sudarat.Moc.pdf.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2566). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธีรวัฒน์ ประกอบผล และสุนทริน วงศ์ศิริกุล. (2552). การพัฒนาโมเดลสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย UML 2.0. กรุงเทพฯ: บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด.

จิรายุ คุณประเสริฐ. (2562). การเสริมอำนาจให้กับเกษตรกรด้วยเทคโนโลยีเกษตร อัจฉริยะ กรณีศึกษา ธุรกิจฟาร์มโคนมในประเทศไทย. ปทุมธานี (การศึกษาค้นคว้าอิสระ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี). สืบค้นจาก https://doi.nrct.go.th/

การออกแบบหน้าจอของเว็บแอปพลิเคชันมอฟอร์ยู

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-08-2024