การสร้างต้นแบบระบบการดูแลต้นอโลคาเซีย ดราก้อนสเกล ผ่านไลน์โนติฟาย
คำสำคัญ:
ไอโอที, สมาร์ทฟาร์ม, แจ้งเตือน, ไลน์โนติฟาย, อโลคาเซีย ดราก้อนสเกลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบระบบการดูแลต้นอโลคาเซีย ดราก้อนสเกล ผ่านไลน์โนติฟาย และทดสอบการทำงานของต้นแบบ โดยต้นแบบที่สร้างขึ้นจะเชื่อมต่อบอร์ด Node MCU กับอุปกรณ์เซนเซอร์วัดความชื้นในดินที่ปักลงในดิน 3-5 ซม. เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศที่วางไว้ใกล้ต้นไม้ และเซนเซอร์วัดความสว่างความเข้มแสงตั้งไว้บริเวณข้างกระถางต้นไม้ จากนั้นเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานต่าง ๆ โดย
1) เขียนโปรแกรมควบคุมเซนเซอร์ส่งค่าความเข้มแสงโดยทำการเปิด-ปิดไฟ บริเวณที่วางกระถางต้นไม้ ซึ่งเซนเซอร์สามารถส่งค่าความเข้มแสงมายังไลน์โนติฟายได้
2) เขียนโปรแกรมควบคุมเซนเซอร์ส่งค่าความชื้นในดินโดยการรดน้ำลงในกระถางที่มีเซนเซอร์ปักอยู่ในดิน
ซึ่งเซนเซอร์สามารถส่งค่าความชื้นในดินมายังไลน์โนติฟายได้
3) เขียนโปรแกรมควบคุมเซนเซอร์ส่งค่าความชื้นในอากาศ
โดยฉีดสเปรย์น้ำไปยังบีกเกอร์และนำบีกเกอร์วางทับบนเซนเซอร์ ซึ่งเซนเซอร์สามารถส่งค่าความชื้นในอากาศมายังไลน์โนติฟายได้ จากนั้นทำการทดลองโดยเขียนโปรแกรมควบคุมการส่งข้อมูลจากเซนเซอร์ทั้ง 3 ตัวของต้นแบบไปยังไลน์โนติฟายพร้อมกันทุก 1 นาที เซนเซอร์ทั้ง 3 ตัวสามารถส่งค่าไปยังไลน์โนติฟายได้ และทำการทดลองโดยเขียนโปรแกรมควบคุมการส่งข้อมูลจากเซนเซอร์ทั้ง 3 ตัวของต้นแบบไปยังไลน์โนติฟายเวลา 8.00 น. 12.00 น. และ 16.00 น. เพื่อรายงานผลประจำวัน ซึ่งเซนเซอร์สามารถส่งข้อมูลตามเวลาที่กำหนดได้ ดังนั้นต้นแบบที่สร้างขึ้นทำงานได้ถูกต้องตามโปรแกรมที่เขียนขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลต้นอโลคาเซีย ดราก้อนสเกลได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลต้นไม้ที่ได้รับการแจ้งเตือนจากไลน์โนติฟายจะสามารถดูแลต้นอโลคาเซีย ดราก้อนสเกลให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
References
JON VANZILE. (2020). Understanding Natural Light for Houseplants. Retrieved 29 June 2022, from https://www.thespruce.com/lighting-for-houseplants-1902691.
PETE ONGSUWAN. (2564). แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia baginda ‘Dragon Scale’. สืบค้น 29 มิถุนายน 2565. จาก https://www.kaset32farm.com/article/plant-care/info-alocasia-dragon-scale/?fbclid=
IwAR3XnsODJaekKjcQP5G-xXk9S_gZdVllVPL54zHrd4CPMV_qMVz9qyBqdCw
ปริยากร บัวทอง. (2564). อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเพื่อควบคุมระบบในโรงเพาะชำอัตโนมัติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ปี 2564, 1(2), 9 - 18.
ปิติวัฒน์ จุลเกษมศักดิ์, นรินทร์ จีระนันตสิน และพนัสชัย ศรีบำรุง. (2564). การพัฒนาต้นแบบเครื่องดูแลพืชแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้ที่มีพื้นที่จำกัดด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชรังสิต ประจำปี 2564, 30 เมษายน 2564, (100-110). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรังสิต.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย