Reducing Peak Demand at Traction Substations in Electric Railway System by Regenerative Energy Management and Onboard Supercapacitor Installation
Main Article Content
Abstract
บทความนี้นำเสนอการศึกษาผลการติดตั้งตัวเก็บประจุยิ่งยวดบนขบวนรถไฟต่อกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ตำแหน่งสถานีไฟฟ้าขณะทำงาน โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดการพลังงานคืนกลับร่วมกับการควบคุมระบบกักเก็บพลังงานแบบตัวเก็บประจุยิ่งยวด ในการทดสอบได้พิจารณาผลของขนาดพิกัด ESS ต่อการเปลี่ยนแปลงค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุด โดยระบบทดสอบเลือกใช้ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า BTS Skytrain สายสีลม ผลการทดสอบพบว่าเมื่อ ESS มีพิกัดสูงขึ้นความสามารถในการกักเก็บพลังงานและการจ่ายกำลังไฟฟ้ามีค่าสูงขึ้น สามารถช่วยลดกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่รถไฟและสถานีไฟฟ้าขับเคลื่อน ส่งผลให้แรงดันไฟฟ้าขณะทำงานที่ตำแหน่งรถไฟและสถานีไฟฟ้าขับเคลื่อนมีค่าสูงขึ้น โดยขนาดพิกัดที่เหมาะสมของ ESS คือ 4-6 kWh จะสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าสูงสุดได้ 1.2-1.8 MW จะช่วยลดกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่สถานีไฟฟ้าขับเคลื่อนได้ทุกสถานีอย่างน้อย 20% เปรียบเทียบกับกรณียังไม่ติดตั้ง ESS และในบางสถานีสามารถลดได้มากที่สุดถึง 60% เปรียบเทียบกับกรณียังไม่ติดตั้ง ESS ซึ่งจะลดกำลังไฟฟ้าสูงสุดในภาพรวมคิดเป็นประมาณ 33% และช่วยยกระดับแรงดันไฟฟ้าต่ำสุดที่สถานีไฟฟ้าขับเคลื่อนให้อยู่ในระดับสูงกว่า 0.95 pu. และยกระดับแรงดันไฟฟ้าต่ำสุดที่ตำแหน่งรถไฟได้ในระดับสูงกว่า 0.90 pu.
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการปทุมวันถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการปทุมวันถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการปทุมวัน หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการปทุมวันก่อนเท่านั้น