Vocational Education and National Security: A Case Study of the Bilateral System High Performance
Main Article Content
Abstract
ความมั่นคงของชาติ มีเป้าหมายสำคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย เอกราช อธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคน เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ดังนั้นรัฐบาลจึงวางยุทธศาตร์การพัฒนาไว้หลากหลาย ซึ่งเป้าหมายหนึ่งได้แก่การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เน้นพัฒนาคนเพื่อการอยู่ร่วมกันภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและได้กำหนดแผนการศึกษาแห่งชาติขึ้นเพื่อวางกรอบเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ โดยมุ่งจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ การจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพหรือการอาชีวศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นต่อการขับเคลื่อนประเทศ นำไปสู่ความมั่นคงของชาติ และจากสภาพปัญหาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาปัจจุบันที่ยังดำเนินการไม่ถึงขั้นประสบความสำเร็จ ผู้เรียนยังมีจำนวนน้อย สมรรถนะหรือคุณภาพของผู้เรียนยังไม่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานอาชีพ หลักสูตรไม่สอดคล้องกับสถานประกอบการ การบริหารจัดการยังไม่สมบูรณ์แบบ ไม่มีคู่มือปฏิบัติที่ถูกต้อง ชัดเจน เป็นต้น เป็นปัญหาในมิติของหลักสูตร ผู้เรียน ผู้บริหาร ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง สถานประกอบการและครูฝึก เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงได้สร้าง Model แนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีคุณภาพสูง เพื่อความมั่งคงของชาติโดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการและการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ณ ปัจจุบัน2)สังเคราะห์รูปแบบการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีคุณภาพสูง และ3) เสนอแนวทางพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีคุณภาพสูงกระบวนการดำเนินงานศึกษา1) ศึกษาเอกสาร งานวิจัย บทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติและการบริหารจัดการระบบทวิภาคีทั้งในประเทศและต่างประเทศ2) ประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Focus Groups) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรม สภาการศึกษา ผู้แทนสถานประกอบการ ผู้เชี่ยว/ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 53)สรุปแนวทางการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีคุณภาพสูงเพื่อความมั่งคงแห่งชาติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
The content and information in articles published in the Journal of Advanced Development in Engineering and Science are the opinions and responsibility of the article's author. The journal editors do not need to agree or share any responsibility.
Articles, information, content, etc. that are published in the Journal of Advanced Development in Engineering and Science are copyrighted by the Journal of Advanced Development in Engineering and Science. If any person or organization wishes to publish all or any part of it or to do anything. Only prior written permission from the Journal of Advanced Development in Engineering and Science is required.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพให้จัดได้ สถานศึกษาอาชีวศึกษาและสถาบันการศึกษาตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ พ.ศ. 2562 - 2565. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
เบญจวรรณ ศรีคํานวล, ปัญญา ทองนิล และ กาญจนา บุญส่ง.(2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการจัดการ อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในจังหวัดลําปาง สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.Veridian E-Journal,Silpakorn University, ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2560 หน้า 2535 – 2548
จงสถาพร ดาวเรือง และคณะ.(2560). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดสํานักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาในทศวรรษหน้า. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2560 หน้า 289-300
จิดาภา ถิรศิริกุล.(2559). การจัดการศึษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในประเทศต่าง : คุณลักษณะร่วมและปัจจัยแห่งความสําเร็จ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับสังคมศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม – พฤษภาคม 2559 หน้าที่ 51 – 60