การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรวิสาหกิจชุมชน บ้านเกาะโสภี ตำบลหนองนางนวล อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

ณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ
สุรชัย บุญเจริญ
มนตรี ใจเยี่ยม
สนธยา แพ่งศรีสาร

บทคัดย่อ

       การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ปัญหา แนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การจัดเวทีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า บ้านเกาะโสภี ตำบลหนองนางนวล อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่ 1,213 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะกับการทำนา ในแต่ละครัวเรือนของสมาชิกมีการปลูกพื้นสมุนไพรต่าง ๆ ที่สามารถนำมาผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีจำนวน 20 ชนิด ปัญหาที่พบ ได้แก่ 1) การขาดความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น 2) ยังขาดการสนับสนุนเงินทุน จากหน่วยงานภายนอก ซึ่งอาจส่งผลต่อความยั่งยืนของกลุ่มด้วยอีกทางหนึ่ง 3) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังขาดเครื่องมือ วัสดุ/อุปกรณ์ วัตถุดิบที่จะช่วยสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ 4) ไม่มีตลาดในการรองรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น และช่องทางการตลาดค่อนข้างจำกัด


       คณะผู้วิจัย ผู้นำ และสมาชิกกลุ่มได้พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจบ้านเกาะโสภี ซึ่งทำให้สมาชิกภายในกลุ่มวิสาหกิจมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น และทําให้สังคมของชุมชนเปลี่ยนแปลงใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้เพิ่มรายได้จากอาชีพเสริม ซึ่งทําให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจในครัวเรือนแต่ละครัวเรือนสามารถนำสมุนไพรภายในครัวเรือนมาต่อยอดและตระหนักถึงการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน และเมื่อเกิดความยั่งยืนในชุมชนยังมีการถ่ายทอดออกไปยังชุมชนอื่น ๆ

Article Details

How to Cite
น้ำคำ ณ. ., บุญเจริญ ส. ., ใจเยี่ยม ม. ., & แพ่งศรีสาร ส. . (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรวิสาหกิจชุมชน บ้านเกาะโสภี ตำบลหนองนางนวล อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 7(1), 13–24. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/article/view/3413
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2560). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์.

คำแสน ประเสริฐสุข. (2555). การผลิตและการตลาดลูกประคบสมุนไพร: กรณีศึกษา กลุ่มแพทย์แผนไทยตำบลนาพิน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ประหยัด มะโนพะเส้า. (2552). แนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองยางไคล ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอ

แม่ทา จังหวัดลำพูน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.

มาลี บรรจบ และดรุณ เพ็ชรพลาย. (2538). แนวทางการผลิตวัตถุดิบสมุนไพร. กรุงเทพฯ: กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.

รุ่งทิวา กองสอง. (2551). ความหลากหลายชนิดของพืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์ของชุมชน : กรณีศึกษาป่าชุมชนโคกหินลาด อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์. (2560). เส้นทางเกษตรไทยก้าว ต่อไปสู่เกษตรมูลค่าเพิ่ม. TPSO Journal, 7(66), 1-12.

สุมาลี สันติพลวุฒิ, รสดา เวษฎาพันธุ์, และเกียรติชัย เวษฎาพันธุ์. (2559). โครงการยกระดับผู้ประกอบการ OTOP ที่มีศักยภาพก้าวไปสู่ SMEs กิจกรรมดำเนินการตามแผนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน : กรณีวิสาหกิจชุมชนเครื่องประดับแฟชั่น จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 9(2),

-14.

เสรี พงศ์พิศ และสุภาส จันทร์หงส์. (2548). ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.

Department of industrial Promotion. (2016). Industry trends and market size of herbal processing business. Retrieved from https://bsc.dip.go.th/th/category/quality-control/qs