การพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการจัดการพลังงานสะอาดที่เหมาะสมสำหรับชุมชน กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

วีระพล คงนุ่น
รัฐพล ดุลยะลา ดุลยะลา
ธนัตถา กรพิทักษ์
สุรพงษ์ หรรษนันท์
พุทธดี อุบลศุข
พิชัย ใจกล้า
ยสินทินี เอมหยวก
มานิตย์ จันมี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาดสำหรับชุมชนและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมกับศักยภาพในพื้นที่แบบพึ่งพาตนเอง โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของชุมชนตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นกรณีศึกษา จากการสำรวจพื้นที่เป้าหมายพบว่า อุปกรณ์ทางการเกษตรที่มีความต้องการในการใช้งานสูงได้แก่ เครื่องสูบน้ำและเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ออกแบบระบบไฟฟ้าที่ใช้แหล่งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการสูบน้ำและการสีข้าวสำหรับครัวเรือน ผลจากการวิจัยพบว่า ผู้สนใจเข้าอบรมไม่ได้มาจากอาชีพเกษตรเพียงอย่างเดียว แต่เป็นคนที่มีความต้องการศึกษาเรียนรู้การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีพลังงานสะอาดสำหรับการเกษตร เพื่อจะนำไปใช้ลดต้นทุนด้านพลังงานของการสูบน้ำในพื้นที่และการลดค่าไฟฟ้าของเครื่องสีข้าวกล้องของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของตนเอง มีความพึงพอใจในเรื่องการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมากที่สุด โดยมีผลความพึงพอใจเฉลี่ย 4.55 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก และมีความพึงพอใจในเรื่องระยะเวลาในการอบรมน้อยที่สุด โดยมีผลความพึงพอใจเฉลี่ย 4.13 แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก และยังมีความต้องการที่จะนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือทางการเกษตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานในทำการเกษตรให้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
คงนุ่น ว., ดุลยะลา ร. ด., กรพิทักษ์ ธ. ., หรรษนันท์ ส. ., อุบลศุข พ. ., ใจกล้า พ. ., เอมหยวก ย., & จันมี ม. (2024). การพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการจัดการพลังงานสะอาดที่เหมาะสมสำหรับชุมชน กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 7(1), 1–12. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/article/view/1098
บท
บทความวิจัย

References

พินิจนันท์ สามาอาพัฒน์ และ ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล. (2558). การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร. Thai Journal of Science and Technology. ปีที่ 4 (3), 217-226.

พันธุ์ทิพย์ นวานุช บุศรินทร์ ใหม่รุ่งโรจน์ พัทธนันท์ สิรโชครตามณี และ พงศพล มหาวัจน์. (2565). การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรโดยชุมชน. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม, 182-190.

วิสาขา ภู่จินดา และ สิริสุดา หนูทิมทอง. (2556). การบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตพลังงานใช้ในระดับชุมชน และระดับครัวเรือน: กรณีศึกษา ชุมชนเกาะพะลวย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556.

สุชาดา สรรพานิช. (2564). กรณีศึกษาการพัฒนาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรจากแหล่งน้ำบาดาล สํานักงานสภาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น. วารสารทหารพัฒนา, ปีที่ 45 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2564

สุพจน์ ทนทาน, รณิดา ปิงเมือง, วรรณะ รัตนพงษ์ และนาวิน พรมใจสา. (2560). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การจัดการพลังงานชุมชน ในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (มกราคม-เมษายน) : 26-42.

สืบสกุล วัชรินทร์วงศ์, สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์ และกนกรัตน์ ยศไกร. (2561). ตัวแบบการจัดการพลังงานชุมชนตามแนวพุทธศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (มกราคม-เมษายน) : 147-158.

สุลีกร สุปัน. (2561). การจัดการพลังงานชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580).